การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเพลงลูกทุ่งของไทยและลาว: การวิเคราะห์ภาพพจน์ และภาพสะท้อนสังคม

ผู้แต่ง

  • นภาพร แสงสุข แสงสุข
  • บุญเหลือ ใจมโน
  • เอกฉัท จารุเมธีชน

คำสำคัญ:

เพลงลูกทุ่ง, ภาพพจน์, ภาพสะท้อนสังคม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบภาพพจน์และภาพสะท้อนสังคมที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่งของไทยและลาว ระหว่างปี พ.ศ.2500 - พ.ศ.2520 เลือกมาจากเพลงที่ขับร้องโดยนักร้องเพศชายของไทย 5 คน และนักร้องเพศชายของลาว 5 คน รวม 159 เพลง ใช้กรอบแนวคิดวิเคราะห์ด้านความเหมือนกันและความแตกต่างกันของภาพพจน์และภาพสะท้อนสังคมที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่งของไทยและลาว

          ผลการวิจัยพบว่าภาพพจน์และภาพสะท้อนสังคมที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่งของไทยและลาวมีความเหมือนกันมากกว่าแตกต่างกันเกือบจะทุกด้าน โดยเฉพาะภาพพจน์ที่เหมือนกันพบมากที่สุดได้แก่ อุปมา รองลงมา ได้แก่ อุปลักษณ์ ปรพากย์ ตามลำดับ ส่วนที่พบน้อยที่สุด ได้แก่ อติพจน์ ด้านภาพพจน์สัทพจน์ สัญลักษณ์ บุคลาธิษฐาน และนามนัย ปรากฏในเพลงลูกทุ่งของไทย โดยไม่ปรากฏในเพลงลูกทุ่งของลาว สำหรับภาพสะท้อนสังคมที่เหมือนกันพบมากที่สุด ได้แก่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ รองลงมา ได้แก่ ศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตามลำดับส่วนที่พบน้อยที่สุด ได้แก่ อาชีพ สำหรับค่านิยม และการศึกษา ปรากฏเฉพาะในเพลงลูกทุ่งของไทย โดยไม่ปรากฏในเพลงลูกทุ่งของลาว ภาพสะท้อนสังคมของไทยกับลาวมีลักษณะเช่นเดียวกัน เป็นเพราะมีความผูกพันใกล้ชิดทั้งด้านอาณาเขต เชื้อชาติเผ่าพันธุ์ ภาษา ศาสนา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี และประวัติศาสตร์ของชาติในอดีต ส่วนที่มีความแตกต่างกันเป็นเพราะปัจจัยทางการเมืองการปกครองในปัจจุบัน

References

ขวัญใจ บุญคุ้ม. (2559). วัจนลีลาและบทบาทหน้าที่ของเพลงลูกทุ่ง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ดวงมน จิตร์จำนง. (2561). สุนทรียภาพในภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

ทัศน์วศิน ธูสรานนท์ และพรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2560). พัฒนาการในการสื่อสารของเพลงลูกทุ่งผ่านการเล่าเรื่องตามค่านิยมของสังคมไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า. กรกฎาคม - ธันวาคม 2560, หน้า 1-30.

นิศานาจ โสภาพล. (2562). บทเพลงแม่น้ำโขง : ภาพสะท้อนสังคมวัฒนธรรมความสัมพันธ์ไทย-ลาว. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์. 14 (2): พฤษภาคม- สิงหาคม 2562.

สนม ครุฑเมือง. (2562). ความรู้พื้นฐานทางวรรณคดี. พิมพ์ครั้งที่ 8 .พิษณุโลก: ตระกูลไทย.

สุนทรี ดวงทิพย์. (2558). การศึกษาวิเคราะห์วรรณศิลป์ในวรรณกรรมเพลงลูกทุ่งของหนูมิเตอร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), พฤษภาคม-สิงหาคม 2558, หน้า 76-81.

สุพิศ เอื้องแซะ. (2560). ภาพสะท้อนสังคมและกลวิธีการนำเสนอเรื่องสั้นในนิตยสาร “คู่สร้างคู่สม” วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). เพลินภาษาเพื่ออาเซียน ฉบับราชบัณฑิตยสภา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

เผยแพร่แล้ว

01-12-2021