การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการหกล้ม การปรับตัว การรู้เท่าทันสื่อ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเคหะชุมชนดินแดง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศุภณัฐ พงศ์ฤทธิ์ไกรเลิศ
  • เฉลิมขวัญ สิงห์วี
  • บัวทอง สว่างโสภากุล

คำสำคัญ:

การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการหกล้ม, การปรับตัว, การรู้เท่าทันสื่อ, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการหกล้ม การปรับตัว การรู้เท่าทันสื่อ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเคหะชุมชนดินแดง กรุงเทพมหานคร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการหกล้ม การปรับตัว การรู้เท่าทันสื่อ กับคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในเคหะชุมชนดินแดง กรุงเทพมหานคร จำนวน 343 คน ทำการสุ่มตัวอย่างกระจายแบบง่ายโดยใช้วิธีการจับฉลากตามรายชื่อของผู้สูงอายุ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการหกล้ม การปรับตัว การรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับสูง และคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง 2) การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการหกล้ม การปรับตัว การรู้เท่าทันสื่อมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01

References

จิณณ์พัชร์ อาจธัญกรณ์. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาศูนย์ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

ชลกร ศิรวรรธนะ. (2556). การยอมรับตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว การมีส่วนร่วมในชุมชน กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเคหะชุมชนดินแดง กรุงเทพมหานคร, วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 16, มีนาคม 2560, หน้า 80 – 94.

บุบผา เมฆศรีทองคำ. (2554). การรู้เท่าทันสื่อ: การก้าวทันบนโลกข่าวสาร, วารสารนักบริหาร, มกราคม – มีนาคม, หน้า 117 – 123.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2559. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด 999.

พรเทพ ศิริวนารังสรรค์. (2558). “เจาะลึกระบบสุขภาพ.” จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสม ป้องกันผู้สูงวัยหกล้ม, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา www.hfocus.org/content/2015/08/10723, เข้าดูเมื่อวันที่ 13/12/2562.

พรรณราย ขันธกิจ และคณะ. (2559). กรอบแนวทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนา คุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของผู้ด้อยโอกาสในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์

มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย. (2555). รู้เท่าทันสื่อ ICT. สมุทรปราการ : บริษัท เอเชียแปซิฟิค ออฟเซ็ท.

สมนึก สกุลหงส์โสภณ. (2540). ประสิทธิภาพผลการพยาบาลตามแนวคิดทฤษฎีการปรับตัวของ รอยต่อการลดความเครียด และเพิ่มความสามารถการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะ สุดท้าย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร. (2563). วางศิลาฤกษ์ “โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 2”, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://www.prbangkok.com/th/hotnews/view/MDY1cDBzNnM0NHIyb3Ezc3E2NnEyNDk0cDRyOTQzcjQzODA5MQ==, เข้าดูเมื่อวันที่ 16/8/2563.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2551). เอกสารประกอบการพิจารณา “ญัตติด่วนเกี่ยวกับ อาคารแฟลตของการเคหะแห่งชาติในเขตพื้นที่ดินแดงเพิ่มเติม (Supplement). กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานบริการวิชาการ สำนักวิชาการ.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ เหมาะสมกับผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Orem, D. (2001). Nusing: Concepts of Practice. 6th ed. New York: Company. St. Louis mosky Year book.

United Nation. (1995). Quality of Life in the ESCAP Region. New York: United Nation.

World Health Organization. (2001). ICF: International classification of functioning, disability and health. Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-12-2020