การเทียบเคียงสมรรถนะคุณภาพการศึกษาจากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
การประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเทียบเคียงสมรรถนะคุณภาพการศึกษาจากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบสาม โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ กับคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ และคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 2) สังเคราะห์ข้อเสนอแนะผลการประเมินคุณภาพการศึกษารอบสาม ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งได้รับการประเมินโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) ประจำปีการศึกษา 2554 - 2558 จำนวน 36 แห่ง ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบสาม ระดับอุดมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนมาตรฐาน ร้อยละ และเปอร์เซ็นไทล์ ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการเทียบเคียงสมรรถนะจากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาตัวบ่งชี้รวม 18 ตัวบ่งชี้พบว่า คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มีผลการเทียบเคียงสูงกว่าคะแนนมาตรฐาน ทั้งระดับมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ และระดับมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่างระดับมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนบน และมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่ง
- ผลการสังเคราะห์ ผลการสังเคราะห์ข้อเสนอแนะของผลการประเมินคุณภาพการศึกษารอบสามของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ แยกตามตัวบ่งชี้ โดยเรียงตามลำดับความถี่จากมากไปน้อย ปรากฏผลดังนี้ ตัวบ่งชี้ด้านคุณภาพบัณฑิต ได้แก่ คุณภาพผลงานของบัณฑิตระดับปริญญาโทและเอกควรได้รับการยกระดับ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีดัชนี การอ้างอิง (Impact Factor) สูง เพื่อเพิ่มศักยภาพของนักศึกษาและคณาจารย์ให้สามารถแข่งขัน ในระดับสากล ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ได้แก่ ควรส่งเสริม ผลักดัน มีนโยบายและแนวทางที่เป็นรูปธรรมให้อาจารย์ทำงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนให้เกิดการตีพิมพ์เผยแพร่เพิ่มขึ้นทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยมีระบบการจูงใจและระบบการตอบแทนอย่างชัดเจนพร้อมทั้งมีระบบการติดตามผล ด้านการบริการวิชาการ ได้แก่ ควรสนับสนุนให้อาจารย์มีส่วนร่วมในการให้การบริการวิชาการแก่สังคม และนําผลที่ได้ไปพัฒนาด้านการเรียนการสอนและการวิจัย ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ได้แก่ ควรส่งเสริมในการเข้าร่วมโครงการและทำกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับมหาวิทยาลัยอย่างเป็นระบบ ด้านการพัฒนาสถาบันและบุคลากร ได้แก่ ควรพัฒนาการวางแผนด้านอัตรากำลัง เนื่องจากคณาจารย์กว่าร้อยละ 60 ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ควรเร่งการสร้างผลงานวิชาการและผลงานวิจัย เพื่อนำไปสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในสังกัดระยะ 3 - 5 ปี ด้านระบบการประกันคุณภาพ ได้แก่ ควรพัฒนาระบบข้อมูล ระบบแผนงานและการใช้ข้อมูลหลักฐาน เพื่อการบริหารงานเชิงคุณภาพในการดำเนินกิจกรรมบริหารจัดการ และการดำเนินงานของหลักสูตรที่ควรมีความชัดเจนในระบบและกลไก
References
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2560). การประยุกต์ใช้เครื่องมือการเทียบเคียงสมรรถนะในการบริหารงานภาครัฐ. วารสารวิทยาการจัดการ. ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2560).
เจนการณ์ เพียงปราชญ์. (2561). การบริหารจัดการโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้วยการเทียบเคียงสมรรถนะ. วารสารชุมชนวิจัย. ปีที่ 12 ฉบับ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2561).
บุราพร กำบุญ. (2560). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรทางการศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน 2560).
มยุรี ธานีโต. (2561). ปัญหาและแนวทางพัฒนาการดําเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายที่ 39 สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาการบิหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วาลิช ลีทา. (2560). สภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2560).
สุรเชษฐ์ บุญยรักษ์. (2561). การพัฒนากลยุทธ์การจัดการแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายใน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2561).
สุรเชษฐ์ บุญยรักษ์. (2561). ความต้องการของบุคลากรในการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. ปีที่ 8 ฉบับที่ 15 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2561).
สุรเชษฐ์ บุญยรักษ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มีนาคม 2563).
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2564). แนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: สมศ.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2560). ผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/Report/unversity.php. ค้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560.
อินทะแสง อินทราชา. (2561). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน คณะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
World Economic Forum. (2014). The Global Competitiveness Report 2014-2015. [online], form http://www3.weforum.org. Retrieved Autober 21, 2014.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง