การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ด้วยวิธีวิทยาของการสร้างทฤษฎีฐานราก : กรณีศึกษาโรงเรียนชุมชนชาวนา

ผู้แต่ง

  • กฤตยาวดี เกตุวงศา นิสิตปริญญาเอก สาขาการบัญชี คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ณกานต์ บัวเผื่อน นิสิตปริญญาเอก สาขาการบัญชี คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ศิววงศ์ เพชรจุล นิสิตปริญญาเอก สาขาการบัญชี คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ทฤษฎีฐานราก, ความเข้มแข็งของชุมชน, โรงเรียนชุมชนชาวนา, Grounded Theory, the Community Strength, the Farmer Community School

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจถึงลักษณะ เงื่อนไข ของกระบวนการเกิดขึ้น การดำรงอยู่ และผล ที่ติดตามมาจากปรากฏการณ์ของการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนชุมชนชาวนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อหาข้อสรุปเชิงทฤษฎีที่จะนำไปสู่การสร้างทฤษฎีจากฐานราก (Grounded theory) โดยการศึกษา ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ณ โรงเรียนชุมชนชาวนา บ้านปลาบู่ หมู่ที่ 14 ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแปลความและตีความหมายของข้อมูล และสร้างมโนทัศน์ด้วยโดยอาศัยความไว ทางทฤษฎีด้วยโปรแกรม Atlas.ti รุ่น 6.2 ผลการวิจัยพบว่า การปรับตัวความเข้มแข็งของโรงเรียนชุมชนชาวนาท่ามกลางความ เปลี่ยนของสังคมในปัจจุบัน ส่งผลให้ชุมชนที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้มแข็งในมิติต่างๆ อันแสดงให้เห็นจากมโนทัศน์ที่สะท้อน ออกมา5 ด้านคือ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ด้านผู้นำ

 

Abstract

The purpose of this research was to understand the characters, conditions of the process, existence of the phenomenon and the pursuit of creating a strong sense of community among the changes of the Farmer Community School. This qualitative research was to find the theoretical conclusions that can lead to establish Grounded theory. The researcher herself accessed to study and collected data to interpret the existence of the phenomenon of the Farmer Community School which was located at Ban Plaboo, Moo 14, Nongsaeng Sub-district, Wapeepathum District, Maha Sarakham Province. Translation and interpretation were used to analyze data, and creating concept was based on the theory sensitivities and used program Atlas. ti 6.2. The results of this study were found that the adaptation among the changes of the society at present strengthened the community in various dimensions which showed the reflected concepts in five areas: society, economy, culture, natural resources and environment, and leadership.

Downloads