แนวทางการประชาสัมพันธ์อย่างยั่งยืนของกลุ่มผลิตภัณฑ์แก้วโป่งข่าม ตำบลแม่ถอด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • เครือวัลย์ วงษ์ไพบูลย์ อาจารย์ ดร. ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

การประชาสัมพันธ์อย่างยั่งยืน, แก้วโป่งข่าม, การมีส่วนร่วม, public relations, Kaew Pong Kham, participation

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สองประการคือประการแรกเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการประชาสัมพันธ์อย่างยั่งยืนของกลุ่ม ผลิตภัณฑ์แก้วโป่งข่าม ตำบลแม่ถอด อำเภอเถิน จังหวัดลำปางและประการที่สองเพื่อพัฒนาแนวทางการประชาสัมพันธ์อย่าง ยั่งยืนของกลุ่มผลิตภัณฑ์แก้วโป่งข่าม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือสมาชิกกลุ่มผลิตภัณฑ์แก้ว โป่งข่าม บ้านนาบ้านไร่ หมู่ที่ 5 ตำบลแม่ถอด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง จำนวน 171 คน เทคนิคในการรวบรวมข้อมูลได้จาก การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสำรวจและการตอบแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ การจัดเวทีชุมชน การเสวนา การจดบันทึก กล้องวีดิ ทัศน์ กล้องถ่ายรูป และแบบสอบถามโดยประมวลผลการวิจัยจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเอกสาร(Documentary Study) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสังเกตภาคสนาม (Field Observation) รวมทั้งหาค่าสถิติโดยใช้ร้อยละ ความถี่และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการประชาสัมพันธ์อย่างยั่งยืนของกลุ่มผลิตภัณฑ์แก้วโป่งข่ามเรียงลำดับจากมาก ไปหาน้อยดังนี้คือ (1) ด้านผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์แก้วโป่งข่ามเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าโดดเด่นในตัวเองมีชื่อเสียงโด่งดังในด้าน ความศักดิ์สิทธิ์ ความขลัง อยู่ยงคงกระพัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก้วโป่งข่ามที่ขุดได้จากดอยโป่งหลวง เชิงเขาตำบลแม่ถอด บริเวณหมู่บ้านบ้านนาบ้านไร่ และบ้านแม่แก่ง (2) ด้านราคา ไม่แพงเกินไป สามารถซื้อได้ (3) ด้านการประชาสัมพันธ์ เน้น การบอกต่อของลูกค้า การเข้ามามีส่วนร่วมของหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนทำให้ผลิตภัณฑ์แก้วโป่งข่าม เป็นที่ รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้น จากการทำสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ และ (4) ด้านสถานที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดของแก้วโป่งข่าม คือดอย โป่งหลวงที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นอาคารจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ OTOP และ ผลิตภัณฑ์แก้วโป่งข่าม บริเวณด้านหน้าวัดบ้านนาบ้านไร่ การเดินทางสะดวกถึงแม้จะอยู่ไกลจากทางหลวง ในขณะเดียวกันแนวทางการประชาสัมพันธ์อย่างยั่งยืนของกลุ่มผลิตภัณฑ์ แก้วโป่งข่าม ตำบลแม่ถอด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนคือเน้นการให้ความสำคัญกับคุณค่าแก้ว โป่งข่ามและความศักดิ์สิทธิ์ด้วยการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่เยาวชนในโรงเรียนบ้านนาบ้านไร่โดยสร้าง หลักสูตรท้องถิ่นการเจียระไนแก้วโป่งข่าม นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่าชุมชนร่วมมือในการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์แก้วโป่งข่าม ว่าเป็นสิ่งที่มีค่าควรแก่การบูชา ในที่ประชุมได้ตกลงทำป้ายประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่ ป้ายไวนิล แผ่นพับประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับแก้วโป่งข่ามและผลิตภัณฑ์แก้วโป่งข่าม และการประชาสัมพันธ์ทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของแก้วโป่งข่าม แหล่งผลิต ผลิตภัณฑ์ และเพื่อเป็นการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของหมู่บ้าน ชุมชนจึงจัดให้มีการเฉลิมฉลองพระเจ้าแก้วโป่งข่ามเป็นประเพณีทุกปี ณ วัดบ้านนาบ้านไร่ ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม ถึง 1 มกราคม

 

Abstract

The purposes of this research were to study the factors affecting sustainable public relations of Kaew Pong Kham product group at Mae Thod Sub-district, Thoen District, Lampang Province and to explore the guidelines of sustainable public relations of Kaew Pong Kham Product Group by using Participatory Action Research Process as the research method. The population was 171 members of Kaew Pong Kham product group and their stakeholders. The research area was Baannabaanrai Community, Moo 5 Mae Thod Sub-district, Thoen District, Lampang Province. The techniques of data collection used in this study were community stage, seminar, in-dept interview, observation, focus group discussion, and survey using questionnaires. The statistics used were percentage, frequency and standard deviation.

The results of this study were found that the factors affecting sustainable public relations of Kaew Pong Kham product group were product quality, sacred place, inexpensive price, promotion emphasizing word of mouth, public relations by government organizations, and social relations. Meanwhile, the guidelines of sustainable public relations of Kaew Pong Kham Product Group must emphasize on the value creation of Kaew Pong Kham as the sacred product realized by the community and create the learning curriculum or the knowledge center for students in the community. The result also insisted that the community must participate in promoting Kaew Pong Kham to be respectful and both government and private organizations must continuously support the Kaew Pong Kham’s related activities. In addition, the members, stakeholders, and researcher agreed to promote Kaew Pong Kham by using posters, billboard, brochures, and radio broadcasting to give information about Kaew Pong Kham and its importance to people in the community and others. They also have project to reserve Kaew Pong Kham as the community resource and to establish the culture and tradition to celebrate the huge Kaew Pong Kham Buddha Image at Baannabaanrai Temple every year from December 30th to January 1st.

Downloads