การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำตะเกียงน้ำมันพืชแบบโบราณ กรณีศึกษา ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ตะเกียงน้ำมันพืชแบบโบราณ, ปงยางคก, local wisdom traditional, vegetable-oil-lantern, Pongyangkhokบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำตะเกียงน้ำมันพืชแบบโบราณของชุมชนปงยางคก เป็น การวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญา ในการเลือกสรร ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ สมาชิกที่ตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ประเภทกลุ่มผู้ผลิตตะเกียงน้ำมันพืชแบบโบราณซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 7 คน โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธีผสมผสานกัน ได้แก่ การสัมภาษณ์ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์แบบ เจาะลึก และการสนทนากลุ่ม ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ภูมิปัญญาการทำตะเกียงน้ำมันพืชแบบโบราณ พบว่า มีกระบวนการผลิตอย่างเป็นระบบ ซึ่งอาศัยภูมิปัญญา ดั้งเดิมผสมผสานกับองค์ความรู้สมัยใหม่ องค์ประกอบของภูมิปัญญาในการทำตะเกียง ประกอบด้วย วิธีการผลิตด้วยระบบ ช่างฝีมือและระบบการแบ่งงานกันทำ แต่การใช้เครื่องมือยังคงเป็นเครื่องมือทั่วไปซึ่งสามารถทำงานได้หลายอย่าง ไม่ได้ พึ่งพาเทคโนโลยีขั้นสูง และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชุมชนที่เป็นไปเพื่ออนุรักษ์ของดั้งเดิมมากกว่าเน้นการผลิต จำนวนมากในเชิงธุรกิจ
2. กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญา แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับบุคคล และระดับชุมชนระดับบุคคล มีผู้ทำหน้าที่ ในการถ่ายทอด คือ สมาชิกในครอบครัว เครือญาติ โดยการสอนและบอกวิธีทำ ทดลองปฏิบัติ แนะนำ และอาศัยการขัดเกลา ทางสังคมแบบค่อยเป็นค่อยไป อุปกรณ์ที่ใช้ คือ วัตถุดิบจริงในการทำงาน และอาศัยการแลกเปลี่ยนซักถามอย่างไม่เป็น ทางการ ส่วนเนื้อหาเป็นเรื่องของกระบวนการผลิต และเทคนิคการเลือกสรรทรัพยากรธรรมชาติมาใช้
ระดับชุมชน มีผู้ทำหน้าที่ในการถ่ายทอด คือ กลุ่มอาชีพ กลุ่มเพื่อน กลุ่มผู้สูงอายุและผู้เป็นภูมิปัญญาผ่านวิธีการ ประชุม เวทีชาวบ้าน โดยอาศัยสื่อบุคคลแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และมีเป้าหมายเพื่อสร้างอาชีพในชุมชน
Abstract
The study of local wisdom in making traditional vegetable-oil-lantern of Pongyangkhok community is a participatory action research. The objective is to gather knowledge and the transferring process of local wisdom in choosing natural resources to build a career for people in the community. The population and sampling group used in this study were members of a community enterprise in Pongyangkhok Sub-District, Hang Chat District, Lampang province of traditional vegetable-oil-lantern manufacturers who currently have a total of seven people. The researcher collected data by using multiple data collection methods, including interviews with a mix of both formal and informal, the participant observation and participation, the descriptive data analysis and content analysis of the in-dept interview and focus groups. The results were as follows.
1. Wisdom of the traditional vegetable-oil-lantern was found to have a systematic process which used the integration of traditional knowledge and modern knowledge. The component of local wisdom in making traditional vegetable-oil-lantern consisted of artisan methods of production and the division of work, but the instruments were general tools which can run several jobs and it did not rely on advanced technology. The utilization of community resources was to preserve the tradition rather than focus on mass production for commercial.
2. Process of transferring local wisdom was divided into two levels: the individual level and community level.
The individual level has served to convey the family members and relatives by teaching and telling how to perform experiments and socialization trend slowly. The device used is the real material in working and the exchange of an informal inquiry. The content is the subject of the manufacturing process and techniques used to select natural resources.
The community level has served to convey the professional group, friends group, the elderly group and people who have local wisdom through the meeting, community stage and through the wisdom of the people exchanging media experiences and aims to build a profession in the community.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง