คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีที่พึงประสงค์

ผู้แต่ง

  • มาลินี สายก้อน นักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์, บัณฑิตสาขาวิชาการบัญชี, desirable characteristics of accounting graduates, accounting graduates

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ความต้องการข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจในธุรกิจมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงข้อมูล ทางการบัญชีที่ดีจำเป็นต้องอาศัยนักบัญชีที่มีคุณภาพและมีคุณลักษณะที่ดี ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาวิจัย คุณลักษณะของ บัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีที่พึงประสงค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสำรวจคุณลักษณะของบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีที่พึง ประสงค์ โดยทำเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการในจังหวัด ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ จำนวน 40 คน และใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีคุณลักษณะของบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีที่พึง ประสงค์โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ ด้านคุณค่าจรรยาบรรณในวิชาชีพ เกี่ยวกับความรู้ ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ด้านจรรยาบรรณในวิชาชีพเกี่ยวกับความโปร่งใส ความเป็น อิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต และด้านจรรยาบรรณในวิชาชีพเกี่ยวกับความรับผิดชอบและการรักษา ความลับ อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านทักษะเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ ด้านบุคลิกภาพด้านเจตคติ และด้านบุคลิกภาพทาง อารมณ์ และอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านความรู้ทางการตรวจสอบภายใน และด้านความรู้ทางการสอบบัญชี

โดยสรุป ผู้ประกอบการต้องการให้บัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีมีคุณลักษณะด้านจรรยาบรรณในวิชาชีพ ทั้งด้าน ความรู้ ความโปร่งใส ความเป็นอิสระ ความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รักษาความลับของกิจการ และมีระเบียบวินัย ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันการศึกษาและครูอาจารย์ ควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการปลูกฝังนักศึกษาสาขาวิชา การบัญชีให้มีคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้น ซึ่งสามารถส่งผลให้นักศึกษาประสบความสำเร็จ อยู่รอด และเจริญเติบโตใน วิชาชีพต่อไปในอนาคต

 

Abstract

Information needs for decision-making in business is very important. Due to fierce competition, good accounting information requires an account with a great quality and excellent feature. So the researcher is interested in studying desirable characteristics of accounting graduates with the objective to explore the desirable features of accounting graduates. The population was 40 entrepreneurs in Lampang, Lamphun and Chiang Mai, and the instrument was questionnaires. The statistics used in data analysis were percentage, mean and standard deviation.

The results of this study found that entrepreneurs had the overall opinion about the desirable characteristics of accounting graduates at a high level. When considering each aspect, the highest levels were the ethical values of professional knowledge, ability and performance standards, the professional ethics of transparency,independence, fairness and honesty, and professional ethics for responsibility and confidentiality. The high levels were interpersonal skills, personality, attitude, emotional and personality. And the moderate levels were knowledge of the internal audit and the audit knowledge.

In summary, the entrepreneurs require the accounting graduates to have the professional ethics in knowledge, transparency, independence, honesty, responsibility, confidentiality of the business and discipline. Therefore, the related stakeholders such as the educational institutes and teachers should recognize and give priority to instill accounting students with a scholarly account of the above features which can affect in student success, survival and growth of the profession in the future.

Downloads