ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ของผู้นำชุมชนกับประชาชนที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม ทางการเมืองในตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • อุดม คุมา นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, Patronage relationship, political participation

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และรูปแบบระบบอุปถัมภ์ ของผู้นำชุมชนกับประชาชน และเพื่อศึกษารูปแบบและโครงสร้างของเครือข่ายสังคมระบบอุปถัมภ์ของผู้นำชุมชนกับ ประชาชน รวมทั้งเพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องของความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ของผู้นำชุมชนที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของประชาชนในตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ประชากรกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้นำชุมชนจำนวน 82 คน และประชาชนในชุมชนตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง จำนวน 14 ชุมชน จำนวน 500 คน โดย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ

ผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ความสัมพันธ์และรูปแบบระบบอุปถัมภ์ของผู้นำชุมชนและประชาชนของชุมชน ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นไปในลักษณะเป็นการช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยเอื้อเฟื้อต่อกัน ซึ่งลักษณะ ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตของสังคมไทยเพราะความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์เน้น ความช่วยเหลือเกื้อกูลและการตอบแทนที่เราเรียกว่า “บุญคุณ” ความสัมพันธ์ในลักษณะเช่นนี้นับว่ามีผลดีต่อคนไทยทั้งใน ด้านสังคมและเศรษฐกิจการเมือง ในส่วนของรูปแบบเครือข่ายโครงสร้างทางสังคมพบว่า พัฒนามาจากระบบเครือญาติ ในชุมชนเป็นส่วนใหญ่ ด้วยความสัมพันธ์ในระบบดังกล่าว จึงทำให้ระบบอุปถัมภ์ที่เกิดขึ้นในชุมชนยิ่งเกาะเกี่ยวแน่น แฟ้นยิ่งขึ้นนั่นเอง รวมทั้งความเกี่ยวข้องของความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ของผู้นำชุมชนกับประชาชนที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม ทางการเมืองนั้น พบว่าหากผู้นำชุมชนมีคุณลักษณะ หรือคุณสมบัติและความรู้ ความสามารถที่ดี จะเป็นคุณสมบัติที่ สนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยผ่านสายสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ของกับผู้นำชุมชนกับประชาชน

 

Abstract

The purposes of this quantitative research were to study the patronage relationship between community leaders and people, to study the model and structure of social network, and to study the patronage relationship between community leaders and people that affects political participation in Prabaht Sub-District, Muang Lampang District, Lampang Province. The population in this study was 82 community leaders and 500 people from 14 communities in Prabaht Sub-District, Muang Lampang District, Lampang Province. The instruments used in this research were questionnaires. The statistic used to analyze the data was percentage.

The results of this study were found that the patronage relationship between community leaders and people that affects political participation was to help and rely on each other with generosity. That such a relationship is crucial to the life of Thai society because the patronage relationship focuses on fostering and rewarding relationships which we call “gratefulness”. This relationship is a positive effect on the social and political economy in Thailand. The model and structure of social network is the development of kinship in the community mostly. Such associated system is enabling the patronage system to the community in the tightly interlaced. The study of the patronage relationship between community leaders and people that affects political participation showed that community leaders who have good qualifications, knowledge, and great ability is a feature that encourages the people in the community to have political participation through the patronage relationships with community leaders and their residents.

Downloads