แนวทางการแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นด้านการรักษาพยาบาลและเวชภัณฑ์ของพนักงาน ผู้ช่วยพนักงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาแม่จัน จ.เชียงราย

ผู้แต่ง

  • ชนิกา อรุณรุ่ง 0625169514

คำสำคัญ:

ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล, ธ.ก.ส., แก้ไข

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายคือ เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลและเวชภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นของพนักงานและผู้ช่วยพนักงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาแม่จัน และศึกษาแนวทางการลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลและเวชภัณฑ์ จากกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานและผู้ช่วยพนักงาน จำนวน 18 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า มีสาเหตุ 3 ประการ คือ พนักงานและผู้ช่วยพนักงาน คู่สมรสพนักงานและผู้ช่วยพนักงาน บุตรพนักงานและผู้ช่วยพนักงาน ประการแรก พนักงานและผู้ช่วยพนักงาน สาเหตุคือ สถานะภาพสมรส จะมีผลทำให้มีเพิ่มค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคู่สมรส มีบุตรของพนักงาน ส่งผลทำให้มีเพิ่มค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุตรช่วงอายุของพนักงาน จะพบว่า ช่วงที่มีความหนาแน่นมากที่สุดคือ ช่วงอายุ 31 - 35 ปี และ 51 – 55 ปี พบว่า ช่วงอายุ 31 - 35 ปี อยู่ในช่วงเริ่มสร้างครอบครัวและมีบุตร ส่วนช่วงอายุ 51 - 55 ปี เป็นช่วงใกล้วัยเกษียณ มีโรคประจำตัว ต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เบิกค่ารักษาพยาบาลเต็มสิทธิ แม้ไม่ป่วยหนักแต่ยังใช้สิทธิรับการรักษา เช่น ขูดหินปูน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สิทธิในการรักษาพยาบาลที่พนักงานเลือกใช้บริการ คือโรงพยาบาลเอกชนที่ผู้จัดการกำหนด ประการต่อมาคู่สมรสพนักงานและผู้ช่วยพนักงานมีสิทธิเบิก ธ.ก.ส. มีโรคประจำตัว ต้องรับการรักษา อย่างต่อเนื่อง และประการสุดท้าย คือ บุตรพนักงานและผู้ช่วยพนักงานมีสิทธิเบิก ธ.ก.ส. เต็มสิทธิ

          จากผลการศึกษาพบว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับองค์กร คือ ปลูกฝัง และส่งเสริมการออกกำลังกายของบุคลากร เพื่อสุขภาพที่ดี นอกจากนี้หากธนาคารนำเรื่องอัตราค่ารักษาพยาบาลมาใช้ในการประเมินผลส่วนบุคคลของพนักงาน ย่อมส่งผลให้พนักงานเกิดแรงจูงใจและกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มวัยเริ่มทำงาน ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายของธนาคารได้มากขึ้น แต่อาจเกิดความไม่เสมอภาคสำหรับพนักงานบางกลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้

References

เฉลียว ไชยเชษฐ์. (2558). การจัดสวัสดิการที่มีผลต่อประสิทธิภาพของพนักงานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัชชา ยมโพธิ์กลาง. (2562). การศึกษาการแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลและเวชภัณฑ์ ของพนักงาน ธ.ก.ส. สาขาโชคชัย เพิ่มสูงขึ้น. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ธิติมา สังขพงศ์. (2555). การศึกษากลยุทธ์การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ของธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร กรณีศึกษาสาขาศูนย์ราชการ (แจ้งวัฒนะ). วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2526). ข้อบังคับธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร ฉบับที่ 11 ว่าด้วยการช่วยเหลือพนักงานเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล.

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2537). คู่มือการเบิกค่าใช้จ่ายพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. Account Monitoring (Summary). ระบบข้อมูล ค่ารักษาพยาบาลและเวชภัณฑ์ของพนักงาน. [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://baacnet ค้นหาเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2563.

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. รายงาน BMIS ส่วนงานระบบข้อมูล [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://baacnet. ค้นหาเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2563.

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. ประวัติธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร. [ออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.baac.or.th/content-about.php. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2563.

ประชาสรรณ์ แสนภักดี. ผังก้างปลา กับแผนภูมิความคิด Fish Bone Diagram & Mind Map. [ออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.prachasan/mindmapknowledge/fishbonemm.htm. ค้นหาเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2563.

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2562). หนังสืออิเล็คโทรนิค เรื่องแรงจูงใจ MB 503 พฤติกรรม องค์การและการจัดการ.

สุนิสา สร้อยยานะ. (2562). แนวทางการลดข้อทักท้วงในการเบิกค่ารักษาพยาบาลของพนักงานธนาคารออมสินภาค 14. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-08-2021