การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง นโยบายผู้บริหารและ ความพึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด องค์การบริหารส่วนตำบล เสริมขวา อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • พิราวัลย์ เรืองฤทธิ์ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำสาขาวิชาการบัญชี, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • บุญฑวรร วิงวอน รองศาสตราจารย์ ดร. ประจำสาขาวิชาการจัดการ, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง, นโยบายผู้บริหาร, ความพึงพอใจ, ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้, Parent Participation, Management Policy, Satisfaction, Learning Achievement

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง นโยบายผู้บริหารและความพึงพอใจ ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเสริมขวา อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง เครื่องมือคือ แบบสอบถาม ประชากรคือ ผู้ปกครองของเด็กที่อยู่ในการดูแลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล เสริมขวา จำนวน 175 ราย ผลการศึกษาพบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30 – 39 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกร มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท และ ความสัมพันธ์เป็นมารดาของเด็ก

ส่วนระดับความคิดเห็นด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง มีผลรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้าน นโยบายผู้บริหาร มีผลรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความพึงพอใจ มีผลรวมอยู่ในระดับมาก และด้านผล สัมฤทธิ์การเรียนรู้มีผลรวมอยู่ในระดับมาก

ผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง พบว่าทุกตัวแปรมีความสัมพันธ์เชิงบวกโดยเฉพาะเส้น ทางความพึงพอใจมีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้มากที่สุด รองลงมา เส้นทางของตัวแปรการมี ส่วนร่วมของผู้ปกครองมีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจ ส่วนนโยบายผู้บริหารไม่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ การเรียนรู้

 

Abstract

The purpose of this research was to study the opinion level of parent participation, management policy and satisfaction, including factors which influenced the learning achievement of Child Development Center in SearmKwar sub-district administrative organization, SearmNgam district, Lampang province. The data tool was in questionnaire format collecting from 175 parents of children in Child Development Center in SearmKwar sub-district. The study revealed that the majority of population was female; their average age was between 30-39 years old; and their educational level was primary. The study was also found that their profession was farmer; their monthly income was lower than 5,000 Baht; and the relationship with children was their mother.

The overall opinion level of parent participation was at medium level. However, management policy, satisfaction, and learning achievement had overall outcome at high level.

The outcomes of structural equation model analysis revealed that all variables had positive relationship; especially, satisfaction path affected directly toward the learning achievement at the highest value; followed by parent participation path which had direct effect toward satisfaction. But management policy had no influence with the learning achievement.

Downloads