ภาวะผู้นำทางวิชาการของอาจารย์ผู้สอนนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ผู้แต่ง

  • สมชาย บุญศิริเภสัช อาจารย์ประจำ ดร. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, academic leadership

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการและข้อเสนอแนะต่อพฤติกรรม ภาวะผู้นำทางวิชาการของอาจารย์ผู้สอนนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาครูชั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชา ภาวะผู้นำการบริหารการศึกษา ในภาคเรียนที่ 1/2555 จำนวน 166 คน และอาจารย์ผู้สอนนักศึกษาครู จำนวน 79 คน ขอบเขตเนื้อหาศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการพัฒนาผู้เรียน ด้านการสร้างบรรยากาศ ในการเรียน ด้านการเป็น แบบอย่างที่ดี และด้านการเป็นนักวิชาการ การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การหา ค่าความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า ทั้งในส่วนของการประเมินจากนักศึกษาและคณาจารย์ต่างได้ผลตรงกันว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของอาจารย์ผู้สอนนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยรวมและรายด้านใน ทุกด้าน อยู่ในระดับมาก และยังประเมินตรงกันว่าภาวะผู้นำทางวิชาการของอาจารย์ผู้สอน ด้านการเป็น แบบอย่างที่ดี มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านอื่น ๆ และด้านการสร้างบรรยากาศในการเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าด้าน อื่น ๆ สำหรับในส่วนของนักศึกษา ด้านที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินรองลงมา ได้แก่ ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการเป็นนักวิชาการ และด้านการพัฒนาผู้เรียน ตามลำดับ ในส่วนของคณาจารย์ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยผล การประเมินรองลงมา ได้แก่ ด้านการพัฒนาผู้เรียน ด้านการพัฒนาตนเอง และด้านการเป็นนักวิชาการ ตามลำดับ สำหรับข้อเสนอแนะต่อพฤติกรรมภาวะผู้นำของอาจารย์ผู้สอนนักศึกษาครู ในส่วนของนักศึกษา ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ อธิบายเนื้อหาสาระวิชาให้ชัดเจน ทั้งในทางทฤษฎีและการนำไปปฏิบัติที่เหมาะ สม และในส่วนของข้อเสนอแนะจากคณาจารย์ ที่สำคัญ คือ เสริมสร้างความเชื่อถือได้ทั้งในบุคลิกภาพและ ความสามารถทางวิชาการ

 

Abstract

The objectives of this research were to study academic leadership and the suggestion to the leadership academic behavior of teachers who teach teacher students in Lampang Rajabhat University. The samples were 166 third year teacher students who studied education administration leadership in 1/2555 semester, and 79 teachers. Scope of contents was studied in 5 domains of academic leadership: self development, student development, atmosphere building for learning, being a good role model, and being academics. The samples were selected by simple sampling. A tool that used in this research was the questionnaire with 5-level rating scale. The statistics used to analysis data were frequency, percentage, mean, and standard deviation.

The research results were found that both part of the assessment from students and from the teachers were the same. The academic leadership of teachers in Lampang Rajabhat University was generally at a high level and each domain was also at a high level. The assessment showed that the academic leadership of teachers in being good role model was higher than other domains, but atmosphere building for learning was lower than the others. For students, the results revealed the academic leadership of students that had lower average were self-development, being academics, and student development, respectively. For teachers, the results insisted the academic leadership of teachers that had lower average were student development, self development, and being academics, correspondingly. The suggestions for building leadership behavior of teachers from students the important recommendation was to explain the content distinctly both in the theoretical and practical manner appropriately. And the feedback from the faculty, it is important to strengthen the trust of both personality and academic ability.

Downloads