การดำเนินงานของโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน

ผู้แต่ง

  • อนุสรณ์ พุทธจร นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
  • มานี แสงหิรัญ อาจารย์ ดร. ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
  • หยกแก้ว กมลวรเดช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555, special classroom, science program, according to the Thai Strengthening Action Plan 2555 (2012)

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานโรงเรียนใน โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาน่าน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียน ปีการศึกษา 2552 กับปีการศึกษา 2553 และ 3) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยศึกษา การดำเนินงานจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 8 คน ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 50 คน เจ้าหน้าที่พัสดุ จำนวน 8 คน และศึกษาเจตคติจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน จำนวน 364 คน รวมทั้งสิ้น 430 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนวิชา วิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่พัสดุ แบบวัดเจตคติ ใช้วัดเจตคติของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้ม แข็ง 2555 โดยผู้อำนวยการมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้ มีการมอบหมายให้ ครูผู้สอนพิจารณาเลือกครุภัณฑ์ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับการเรียนการสอนด้วยตนเอง, การจัดซื้อ ครุภัณฑ์ตามรายการกลางที่สถานศึกษากำหนดไว้, การดำเนินการจัดซื้อครุภัณฑ์ตามระเบียบสำนักนายก รัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติมอย่างเคร่งครัด, การลงนามใบสั่งซื้อ/สัญญาซื้อขาย ของผู้บริหารสถานศึกษา, การส่งหลักฐานการจัดซื้อครุภัณฑ์ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อดำเนิน การ ตั้งเบิกเงินให้ผู้ขาย, การตรวจสอบเจ้าหน้าที่พัสดุในการบันทึกควบคุมครุภัณฑ์ในทะเบียนครุภัณฑ์คุม ทรัพย์สินตามแบบที่ทางราชการกำหนด ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานด้าน การจัดสภาพห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้ เต็มใจตอบข้อสงสัย เมื่อนักเรียนมีปัญหาหรือคำถามในวิชาวิทยาศาสตร์, จัดสัปดาห์วิทยาศาสตร์ทุกปี โดย อาศัยการมีส่วนร่วมของนักเรียน, ให้ความสนใจกับนักเรียนทุกคนในขณะทำการสอน และ ช่วยแก้ไข ปัญหาหรือให้คำแนะนำในการเรียนวิทยาศาสตร์เสมอ และเจ้าหน้าที่พัสดุมีความคิดเห็นต่อผลการดำเนิน งานโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในภาพรวมมี การดำเนินงานอยู่ในระดับมาก แยกเป็นรายด้านพบว่าจัดการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ และ ด้าน การดำเนินงานตาม

2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนปีการศึกษา 2552 กับปี การศึกษา 2553 โดยวัดผลจากคะแนนการสอบ O-NET พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนเพิ่มขึ้นจำนวน 5 ระดับชั้น ได้แก่ ระดับชั้น ป.6 จำนวน 2 โรง คือ โรงเรียนราชานุบาลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.41 โรงเรียนศรีเวียงสาวิทยาคาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.58, ระดับชั้น ม.3 เพิ่มขึ้นจำนวน 2 โรง คือ โรงเรียนแม่จริม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.06 โรงเรียนสา เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.82, ระดับชั้น ม.6 เพิ่มขึ้นจำนวน 1 โรง คือ โรงเรียนบ้านหลวงเพิ่มขึ้นร้อย 0.61 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่มี อัตราส่วนลดลง จำนวน 7 ระดับชั้น ได้แก่ ระดับชั้น ป. 6 จำนวน 2 โรง คือ โรงเรียนบ้านดอน (ศรีเสริม กสิกร) ลดลงร้อยละ 1.36โรงเรียนบ้านนาราบ ลดลง ร้อยละ 10.13, ระดับชั้น ม.3 จำนวน 2 โรง คือ โรงเรียนบ้านหลวง ลดลงร้อยละ 0.10 โรงเรียนนาน้อย ลดลงร้อยละ 0.68, ระดับชั้น ม.6 จำนวน 3 โรง คือ โรงเรียนแม่จริม ลดลงร้อยละ 0.38 โรงเรียนสา ลดลงร้อยละ 0.01 และโรงเรียนนาน้อย ลดลงร้อยละ 0.03 แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 อยู่ในระดับมาก เช่นกัน

3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 4 ด้าน คือ ด้านประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ ด้านความเชื่อมั่นในการเรียนวิทยาศาสตร์ ด้านความสำเร็จใน การเรียนวิทยาศาสตร์ และ ด้านแรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ พบว่า เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ทั้ง 4 ด้านในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เช่นกัน โดยเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านความสำเร็จในการเรียนวิทยาศาสตร์, ด้านประโยชน์ของวิทยาศาสตร์, ด้านแรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ และ ด้านความเชื่อมั่นในการเรียนวิทยาศาสตร์

 

Abstract

This research is a descriptive research. The purposes of this research were 1) to study the operation of the schools in special classrooms, science projects, according to the Thai Strengthening Action Plan 2555 (2012) in Nan education service area office, 2) to compare the achievement of students’ science learning in the academic year 2552 (2009) to 2553 (2010), and 3) to explore the attitudes of students towards science learning. The sample group of school operation was consisted of 8 school principals, 50 science teachers, and 8 supplies officials. The attitude sample group was 364 students. The total was 430 people. The research tools were the survey instrument for the principals, the science teachers and supplies officials. The attitude measurement used student attitude test to measure attitudes of students. The results were

1. the principals have opinions to the operation at the highest level as follows : there is an assignment for teachers to consider teaching aids as necessary and appropriate to the teaching and learning themselves, purchasing teaching aids based on listings as the schools defined, procurement actions, teaching aids, according to the Act of the Prime Minister’s Office on the supplies, 2535 (1992) and edited more strictly, to sign purchase orders/purchase contracts of sale, sending proof of purchasing teaching aids to educational area offices to continue the drawdown to the seller, check the supplies staff in the recording control in teaching AIDS control official designated as property. The science teachers have opinions to the establishment of special science classroom environment according to the Thai Strengthening Action Plan 2555 (2012) at the highest level as the following: willing to answer any questions when students have problems or questions in science, science week is held each year. These activities were through the participation of students, giving attention to all students while teaching, and helping fix problems or giving advice on how to study science efficiently. Supplies officials have the overall opinions at the highest level. Considering to each aspect, the results showed that the management of special science classes and the operations according to the Thai Strengthening Action Plan 2555 (2012) was at the highest level, too.

2. The result of the comparison of the learning achievement of students’ science academic 2553 (2010) to 2552 (2009) by measuring from the examination scores of O-NET, it was found that there are science learning achievement of students increasing 5 levels of school class, including Pratom6 of 2 schools. Those are Rachanuban School increasing 4.41 percents and Sriwiangsawityakhan School increasing 9.58 percents. In Muttayom 3 level, there are 2 schools increasing, Maecharim School increased 3.06 percents and Sa School increased 0.82 percents. In Muttayom 6 level, there is a school increasing 0.61 percent. It is Ban Luang School. For science learning achievement of students with a lower ratio, there are 7 levels of school classes. Those are 2 schools of Pratom 6 : Ban Don School (Srisermkasikorn) dropped 1.36 percents. Ban Narab school was lower 10.13 percents. There are 2 schools of Muttayom 3: Ban Luang School dropped 0.10 percent, and Na Noi School dropped 0.68 percent. There are 3 schools of Muttayom 6: Maecharim School dropped 0.38 percent, Sa School 0.10 percent and Na Noi School was lower 0.03 percent.

3. The data analysis results of students’ attitudes towards learning science in 4 parts: the benefits of science, the reliability in science learning, the success in science learning, and the motivation in science learning were found that the overall of student attitude toward science learning was at a high level. Separate consideration, it was found that they are at high level in 4 parts, too as follow; the success in the science learning, the benefits of science, the motivation in learning science, and the reliability in science learning, respectively.

Downloads