การพัฒนาชุดบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบวิธีสอนแบบ สืบสวนสอบสวนวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
ชุดบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน, academic achievement, computer-assisted lessonsบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาประวัติศาสตร์ 2 “ประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย” โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านบึง“อุตสาหกรรมนุเคราะห์” อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 56 คน 2 ห้องเรียนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองและห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 6 ชุด 2)แผนการจัดการเรียนรู้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) สถิติทดสอบค่าที (t-test).
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.79/88.21
2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนก่อนการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน หลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของนักเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ผู้เรียนที่ได้รับการทดลองใช้ชุดบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this research were 1) to develop the computer-assisted lessons to support the instruction of the subject Sor.21106 History 2 “Sukhothai Era History” through investigative approach for the students in order to reach the required quality at 80/80, 2) to compare the achievements between pre-test and post-test of the students having studied with computer-assisted lessons, and 3) to compare the achievements of studying between an experiment group and a control group. The sample group of this research is composed of students in Mattayom 1 at Ban Bueng “Utsahakamnukroah” Ban Bueng district, Chonburi province, in 2nd semester of academic year 2012. The sample group comprises 56 students from 2 classrooms selected by simple random sampling. The students in one classroom is an experimental group, the other classroom is a control group. The research tools are composed of 1) computer-assisted lesson plan, 2) 6 sets of computer-assisted lessons, and 3) Sukhothai Era History academic achievement evaluation form. The statistical methods used to analyze the collected data are Mean, Standard deviation, Efficiency criterion (E1 /E2), t-test dependent and t-test independent.
Research Result :
1) The result from efficiency evaluation of computer-assisted lessons is 87.79/88.21.
2) The average academic achievements of students between pre-test and post-test found that the computer-assisted lessons help students obtain higher test score at statistical significance level of 0.05.
3) The evaluation of academic achievement of the students after having studied with the computer-assisted lessons between the experiment group and the control group showed that the experiment group obtain higher scores than the control group at statistical significance level of 0.05.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง