การเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างพลังอำนาจ, ประสิทธิผล, teacher empowerment, effectivenessบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงานของครู ระดับประสิทธิผลของโรงเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียน และสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้ปฏิบัติการสอน จำนวน 530 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า ระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ระดับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน การเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงานของครูมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 และมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (.607) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .65 การสร้างทีมงาน (X5) การสร้างบรรยากาศ (X4) และการส่งเสริมความร่วมมือ (X2) เป็นตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ได้ร้อยละ 42.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
Ź = .370(X5)+.237(X4)+.153(X2)
Abstract
The purposes of this research were to study the level of teacher empowerment, the level of effectiveness of the school, the relation of education between teacher empowerment and effectiveness of the school, and establish an equation predicting the effectiveness of school under Chachoengsao Primary Education Service Area Office 1. The sample consisted of 530 teachers. The research instrument was a five-rating scale questionnaire. The reliability of the issue was .96. The statistics used for analyzing the data were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis.
The results of the study were as follows: Teacher empowerment of school under Chachoengsao Primary Education Service Area Office 1in general was at a high level in every aspect. Effectiveness of school under Chachoengsao Primary Education Service Area Office 1 was at a high level in every aspect. The relationship between teacher empowerment and effectiveness of school under Chachoengsao Primary Education Service Area Office 1 had the positive correlation statistically significant at .01 and at a moderate level .607. The multiple correlation coefficients were equal to .65. Teamwork (X5), atmosphere (X4) and cooperation (X2) could predict the effectiveness of school under Chachoengsao Primary Education Service Area Office 1. The prediction power was 42.60 percents which was statistically significant at .01, and could write the forecasting equation of standard scores as follow.
Ź = .370(X5)+.237(X4)+.153(X2)
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง