การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ ใจวังเย็น นักศึกษาปริญญาโท, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต(สาขาวิชาการบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
  • สุรพล บัวพิมพ์ อาจารย์, ดร. ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • อัมเรศ เนตาสิทธิ์ อาจารย์ ดร. ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, โรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่, The advising and helping student system, large private schools

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินงาน สภาพปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ครู จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา เอกชน จังหวัดลำปาง สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่าโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่มีการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ด้านการส่งเสริมนักเรียนด้านการป้องกันและ แก้ไขนักเรียน ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และด้านการส่งต่อนักเรียนปัญหา ที่สำคัญคือ การดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ได้ข้อมูลไม่ตรงตามความเป็นจริง ครูขาดการติดตามป้องกันและปัญหานักเรียนอย่างต่อเนื่อง แนวทางแก้ไข ควรดำเนินงานตามกิจกรรมที่ได้วางไว้ ควรใช้ผลการประเมินจากการคัดกรองเป็นพื้นฐานในการพิจารณาด้านพฤติกรรมเด็ก ควรส่งเสริมให้สถาบันครอบครัวเข้มแข็งในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและโรงเรียนควรมีระบบการส่งต่อนักเรียนทั้งภายในและภายนอกอย่างชัดเจน

 

Abstract

This research aimed to study the state of the advising and helping student system operation and discover the guidelines to solve the problem in the large private schools under the Office of the Private Education Commission, Lampang province. The studied sample consisted of 248 teachers. The questionnaire was used to collect the needed data. The collected data were analyzed via the application of percentage, mean and standard deviation.

The research results indicated that the state of the advising and helping student system operation was rated at a high level as a whole. Considering the mean score of each aspect, the student supporting activity, the preventing and problem solving activity, the case selecting activity, the individual knowing activity and case transferring activity were in descending order. Regarding the problem, it indicated that the lack of systematic operation, the information did not correspond to reality, school and teachers lack of monitoring, preventing and solving student problem continually. Solution implementation activities should be operated as activities placed. The results of the screening assessment should use as a basis for determining the behavior of children. Schools should encourage strong family in preventing and solving problems. Moreover, schools should have transferring students systems both inside and outside clearly.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2015