การพัฒนาหลักสูตรเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านศรีบุญเรือง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • จีราภัสร์ ใจเย็น นักศึกษาปริญญาโท, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต(สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน), มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
  • ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ดร. ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
  • ดุษฎี สีตลวรางค์ ดร. กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ, จิตสาธารณะ, curriculum development, the curriculum enhancing experience to develop public mind, public mind

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ 2) เพื่อ ศึกษาผลการใช้หลักสูตรเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ ด้านพฤติกรรมจิตสาธารณะ และ3)เพื่อศึกษา ผลการใช้หลักสูตรเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง จิตสาธารณะ กลุ่ม เป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านศรีบุญเรือง จำนวน 15 คน เครื่องมือ ที่ใช้ประกอบด้วย หลักสูตรเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ เอกสารประกอบหลักสูตร ( แผนการจัดการ เรียนรู้ตามหลักสูตร ) แบบวัดพฤติกรรมจิตสาธารณะ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ได้หลักสูตรเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้าน ศรีบุญเรือง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง มีโครงสร้างจำนวน 6 หน่วยการเรียนรู้ มีความ เหมาะสมอยู่ในระดับมาก ที่สุด

2. พฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนในการใช้หลักสูตรเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ ใน ภาพรวมก่อนเรียนพฤติกรรมจิตสาธารณะอยู่ในระดับปฏิบัติเล็กน้อย ( \inline \dpi{100} \bar{X}=1.18)และพฤติกรรมจิตสาธารณะ หลัง เรียนอยู่ในระดับปฏิบัติเป็นประจำหรือทุกครั้ง ( \inline \dpi{100} \bar{X}= 2.44 )

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้หลักสูตรเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน 52.00 และ87.00 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 35.00

 

Abstract

The objectives of this research are 1) to develop a curriculum enhancing experience to develop the public mind of grade 6 students at BaanSriboonruang school, Chae Hom district, Lampang Province, 2) to study the student behaviors, and 3) to study the student achievement. The target group is 15 students of Grade 6 in academic year 2012 at BaanSriboonruang school. The instruments used were the curriculum enhancing experience to develop the public mind, document assemble to the curriculum (A management plan based learning course), the student behaviors of public mind test, and the student achievement test. Percentage, mean, and standard deviation were used to analyze data.

The results showed that

1. The school has got the curriculum enhancing experience to develop the public mind of grade 6 students at BaanSriboonruang school, Chae Hom district, Lampang Province with 6 unit lesson plans; classrooms available, volunteer to look after the younger, volunteer for elderly massage, growing plants to reduce global warming, radio I love (moral storytelling through lines), and public mind interest volunteer. The overall public mind was appropriate at the highest level. ( \inline \dpi{100} \bar{X} = 4.88, SD = 0.13)

2. The result of the students behaviors before using the curriculum enhancing experience to develop public mind in general was at a low level ( \inline \dpi{100} \bar{X} = 1.18, SD = 0.23), but after studying in class regularly or every time was higher ( \inline \dpi{100} \bar{X} = 2.44, SD = 0.39).

3. The achievement of students who take the course enhancing experience the public mind has got higher scores after learning (86.67%) than before learning (51.67%). The scores is increasing 35.00 percent.

Downloads