การคิดเชิงออกแบบ : ครูนวัตกรวิถีใหม่
คำสำคัญ:
การคิดเชิงออกแบบ, ครูนวัตกร, วิถีใหม่, การพัฒนานวัตกรรมบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการนำเสนอกระบวนการพัฒนานักศึกษาครูให้มีความเป็นนวัตกรที่สามารถพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบดิจิทัลหรือรูปแบบออนไลน์เพื่อใช้แก้ไขปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมในสภาพแวดล้อมวิถีใหม่ด้วยการคิดเชิงออกแบบ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การทำความเข้าใจปัญหาของผู้ใช้ คือ การศึกษาปัญหาของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างละเอียด และลึกซึ้งด้วยวิธีการสังเกต การสอบถาม และการลองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์นั้น ๆ 2) การตีความปัญหาและกำหนดความต้องการ คือ การสรุปประเด็นปัญหาให้ได้ว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร และกลุ่มเป้าหมายมีความต้องการอย่างไรก่อนการนำไปสู่ขั้นตอนการระดมสมอง 3) การระดมสมอง คือ การระดมความคิดของกลุ่มอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้ได้ข้อสรุปนำไปสู่การสร้างต้นแบบนวัตกรรม 4) การสร้างต้นแบบ คือ การนำข้อสรุปที่ได้จากกลุ่มมาสร้างเป็นชิ้นงานรูปธรรมแบบหยาบ ๆ และ 5) การทดสอบ คือ การนำต้นแบบที่สร้างขึ้นไปใช้ทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อการสะท้อนกลับและนำสู่การปรับปรุงจนกว่าจะได้ต้นแบบที่สมบูรณ์ที่สุด โดยทั้ง 5 ขั้นตอนของการคิดเชิงออกแบบนี้เป็นพลังสำคัญของระบบการจัดการศึกษาที่จะขับเคลื่อนนักศึกษาครูอันเป็นกำลังสำคัญชาติให้มุ่งสู่ความเป็นนวัตกรเพื่อพัฒนาประเทศไทย สามารถประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนและถ่ายทอดสู่ผู้เรียนได้อย่างลงตัว ตลอดจนนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน นวัตกรรมสำหรับการประกอบอาชีพก่อให้เกิดความมั่นคั่ง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมในบริบทและสภาพแวดล้อมปัจจุบันได้อย่างยั่งยืนสืบไป
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ณิชากร ศรีเพชรดี. (2562). นวัตกรคืออะไร. [ออนไลน์] แหล่งที่มาhttps://thepotential.org/knowledge/play-passion-purpose-young-innovator. ค้นหาเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2563.
นิตยสารพัฒนาความรู้และความคิดสร้างสรรค์. (ม.ป.ป.). (เดอะโนเลจ). เพื่อเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ผ่านกระบวนการเรียนรู้สาธารณะ. 2 (11). [ออนไลน์] แหล่งที่มา www.okmd.or.th/knowledge/okmd-magazine.
นุชจรี กิจวรรณ. (2561). กระบวนการคิดเชิงออกแบบ: มุมมองใหม่ของระบบสุขภาพไทย. วารสารสภาการพยาบาล 2561, 33(1), หน้า 5-14.
เพ็ญจมาศ คำธนะ และคณะ. (2563). การพัฒนาหลักสูตรการคิดเชิงออกแบบเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนวัตกรของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 21(1), หน้า 103-117.
มานิตย์ อาษานอก. (2561). การบูรณาการการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(1),6-12.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. หน้า 18 เล่ม 136 ตอนพิเศษ 68 ง. ราชกิจจานุเบกษา 20 มีนาคม 2562.
วสันต์ สุทธาวาศ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). ความเป็นนวัตกรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาครัฐ: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 281-300.
วิจารณ์ พานิช. (2561). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. (กรุงเทพฯ มูลนิธิสยามกัมมาจล, 2556), 14-15. นิตยสารพัฒนาความรู้และความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ผ่านกระบวนการเรียนรู้สาธารณะ. The knowledge. (2561). [ออนไลน์] แหล่งที่มาwww.okmd.or.th/knowledge/okmd-magazine. 2(11).
HALYNA MYKHAILYSHYN, OKSANA KONDUR and LESIA SERMAN. (2018). Innovation of Education and Educational Innovations in Conditions of Modern Higher Education Institution. Article in Journal of Vasyl Stefanyk Precarpathian National University. Vol. 5, No. 1 (2018), 9-16. DOI: 10.15330/jpnu.5.1.9-16
Ingo Rauth, Eva Köppen, Birgit Jobst and Christoph Meinel. (2010). Design Thinking: An Educational Model towards Creative Confidence. First International Conference on Design Creativity, ICDC 2010 29 November - 1 December 2010, Kobe, Japan, 1-8.
Jeff Dyer, Hal Gregersen & Clayton M. Chistensen. (2013). นวัตกรพลิกโลก. สำนักพิมพ์ปราณ. กรุงเทพฯ.
Jeanne Liedtka. (2014). Perspective: Linking Design Thinking with Innovation Outcomes through Cognitive Bias Reduction. J PROD INNOV MANAG Product Development & Management Association, http://doi: 10.1111/jpim.12163, pp. 1-14.
Kleinsmann, M., Valkenburg, R., & Sluijs, J. (2017). Capturing the value of design thinking in different innovation practices. International Journal of Design,11(2), 25-40.
Kristin L. Cook and Sarah B. Bush. (2018). Design thinking in integrated STEAM learning: Surveying the landscape and exploring exemplars in elementary grades. wileyonlinelibrary.com/journal/ssm. SchoolScience and Mathematics, 1–11. http://doi: 10.1111/ssm.12268.
Rauth, E. Köppen, B. Jobst and C. Meinel. (2010). Design Thinking: An Educational Model towards Creative Confidence. See website of the d.school in Stanford: [online], Available http://dschool,stanford.edu/big_picture/design_thinking.php (June 16th 2010).
W. Brenner, F. Uebernickel an T. Abrell. (2016). Design Thinking as Mindset, Process, and Toolbox. Institute of Information Management, University of St. Gallen, Unterer Graben 21, 9000 St. Gallen, Switzerland Springer International Publishing Switzerland 2016. DOI 10.1007/978-3-319-26100- 3_1.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง