ความสัมพันธ์ของเครือข่าย กลยุทธ์ธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันที่มีอิทธิพล ต่อการเติบโตของวิสาหกิจแปรรูปไม้ ในจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • อาริษา ไชยวงศ์สาย นักศึกษาปริญญาโท, หลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต(สาขาวิชาการจัดการทั่วไป), มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ณัฐชา เพชรดากูล อาจารย์, ดร. ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ณัฐชา เพชรดากูล อาจารย์, ดร. ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • บุญฑวรรณ วิงวอน รองศาสตราจารย์, ดร. ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

เครือข่าย, กลยุทธ์ธุรกิจ, ความสามารถในการแข่งขัน, การเติบโตของธุรกิจ, networking, business strategy, competitive, growth of business

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นด้านเครือข่าย กลยุทธ์ธุรกิจ ความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตของวิสาหกิจแปรรูปไม้ ตลอดจนศึกษาปัจจัยความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อการเติบโตของวิสาหกิจแปรรูปไม้ในจังหวัดลำปาง เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบธุรกิจแปรรูปไม้ในจังหวัดลำปาง จำนวน 150 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสมการโครงสร้าง ด้วยเทคนิค Smart - PLS

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41 – 50 ปี ระดับการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี มีประสบการณ์และระยะเวลาการดำเนินงานของธุรกิจ 10 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นกิจการเจ้าของคนเดียว

ความคิดเห็นด้านเครือข่าย กลยุทธ์ธุรกิจ ความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตของวิสาหกิจแปรรูปไม้ โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกปัจจัย ผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง พบว่าทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์เชิงบวก โดยเฉพาะความสามารถในการแข่งขันมีอิทธิพลทางตรงต่อการเติบโตของวิสาหกิจแปรรูปไม้ รองลงมาคือ เครือข่ายมีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถในการแข่งขัน

 

Abstract

The purpose of this study was to study opinion level of networking, business strategy, competitive capability and business growth, including the study of relationship factors which had influence on the growth of processing wood business in Lampang province. The research tool was question and the population was 150 processing wood entrepreneurs in Lampang province. The study applied descriptive statistics to find frequency, percentage, average, standard deviation and inferential statistics to analyze variable relationship with structural equation model of SMART PLS technique.

The outcomes of study revealed that majority of entrepreneurs was male in gender, with the average age between 41-50 years old, the educational level below bachelor degree, the business tenure experience over 10 years and the majority was sole proprietorship.

The overall opinion level on networking, business strategy, competitive capability and business growth were rated high on every factor. The outcome of structural equation model analysis revealed that all factors had positive relationship, with competitive capability, in particular, had direct influence on business growth and followed with networking had direct influence on competitive capability.

Downloads