การพัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยใช้ทรัพยากรการสอน เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแพะ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • แววดาว ขัดธะสีมา นักศึกษาปริญญาโท, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต(สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน), มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
  • ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ดร. ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
  • ดุษฎี สีตลวรางค์ ดร. กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง

คำสำคัญ:

หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, เศรษฐกิจพอเพียง, curriculum of information technology and communication, philosophy of sufficiency economy

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยใช้ทรัพยากร การสอนเรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ พฤติกรรมพอเพียง ระหว่างก่อนและหลังการใช้หลักสูตร กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน บ้านแพะ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยครั้ง นี้ได้แก่ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยใช้ทรัพยากรการสอนเรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างเว็บเพจ และแบบวัดพฤติกรรมพอเพียง วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ผลการสร้างหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยใช้ทรัพยากรการสอน เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีโครงสร้าง 3 หน่วยการเรียนรู้ 20 ชั่วโมง ได้แก่ หน่วยที่ 1 ทบทวนความรู้สู่ความพอเพียง หน่วยที่ 2 สืบค้นสร้างสรรค์มุ่งมั่น ความพอเพียง หน่วยที่ 3 เว็บเพจ ความพอเพียง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มีคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 4.94 ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 1.51 และ 17.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.72 ตามลำดับ มีความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 64.44 พฤติกรรมพอเพียงก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ก่อนและหลังเรียนเท่ากับ 25.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.92 และ 37.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.72 ตามลำดับ มีความก้าวหน้า เฉลี่ยร้อยละ 29.58

 

Abstract

The objectives of this research were to develop the curriculum of information technology and communication by using teaching resources “Philosophy of Sufficiency Economy” in Grade 6 (Prathom sueksa 6) and to study learning achievement and sufficient behavior before and after using the curriculum. The sample group was 18 students from Prathom sueksa 6 in the second semester of academic year 2556 at Baan Pae School, Mueang Pan District, Lampang Province. The instrument used in this research was the curriculum of information technology and communication by using teaching resources “Philosophy of Sufficiency Economy”, learning achievement test about “Creating the web page”, and sufficient behavior test. The statistics used to analyze data were percentage, mean, and standard deviation.

The results of this research were found that the curriculum of information technology and communication by using teaching resources “Philosophy of Sufficiency Economy” of grade 6 was consisted of 3 learning units; Unit 1 Review knowledge target to sufficiency, Unit 2 Search creatively for commitment sufficiency, and Unit 3 Web page sufficiency. The results of students learning achievement revealed that the scores before learning equal to 4.94 and after learning equal to 17.83, the standard deviation equal to 1.51 and 1.72 respectively. Their average progress was 64.44 percents. Their sufficient behavior before studying was 25.72 and after studying was 37.56, the standard deviation equal to 3.92, and 1.72 correspondingly. Their average progress was 29.58 percents.

Downloads