บทความวิชาการเรื่อง อุดมศึกษาไทยในอาเซียน รูปแบบ แนวโน้ม และทิศทางการปรับตัวในอนาคต

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา สิงห์สี นักศึกษาหลักสูตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการบริหารจัดการภาครัฐ, มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การศึกษา, อาเซียน, อุดมศึกษา, Education, Asians, higher education

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558 ที่จะถึงนี้ส่งให้เห็นถึงผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญที่อาเซียนให้ความสนใจและบัญญัติไว้ ในกฎบัตรอาเซียนในฐานะที่การศึกษาเป็นหลักพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาประเทศ ดังนั้น การพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการศึกษาในระดับอุดมศึกษาซึ่งถือว่าเป็นหน่วยการศึกษาแรกที่จะได้รับผลกระทบการจากเปิดประชาคมอาเซียน มากที่สุด ทั้งในด้านกิจกรรมการแลกเปลี่ยนบุคลากร นักศึกษา อาจารย์ การเปิดเสรีทางการศึกษาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นการเตรียมพร้อมของสถานศึกษาไทยทั้งในด้านของนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเตรียม ความพร้อมด้านทักษะภาษา ทักษะการทำงาน เพื่อพัฒนานักศึกษาที่มีคุณภาพออกสู่การแข่งขันในตลาดแรงงานอาเซียน การพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ การปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อรองรับการเปิดเสรี ด้านการศึกษาและการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายอาชีพในอนาคต

 

Abstract

The AEC integration in the year 2015 will effect changes in economics, social, politic, and especially education that be written in AEC Blueprint because education is the basic of human capital development and growth of the nations. Therefore education must be improved in all nation members to meet AEC requirement, especially higher education that will be affected the most from the integration. Students, professors, officers must prepare themselves with English skills, working skill to compete in the Asian labor market. Education officers should be skillfully, the course syllabus also be adapted to support AEC operation and labor mobility in the near future.

Downloads