ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย ของโรงเรียนตามแนวชายแดน ไทย-พม่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3

ผู้แต่ง

  • โกวิท โกเสนตอ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเชียงราย
  • จินตนา จันทร์เจริญ อาจารย์ประจำ ดร. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเชียงราย
  • คำนึง ทองเกตุ อาจารย์ประจำ ดร. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเชียงราย

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย, โรงเรียนตามแนวชายแดนไทย-พม่า, Factor, Quality Development for Boundary Primary School, School between Thailand – Myanmar

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย ของโรงเรียน ตามแนวชายแดนไทย-พม่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ตามแนวคิดของ สเตียร์และ พอร์สเตอร์(Steer & Porter) จำนวน 5 ด้าน คือ 1) ด้านผู้บริหาร 2) ด้านครูผู้สอน 3) ด้านงบประมาณ 4) ด้านอาคารสถาน ที่ และ 5) ด้านชุมชน การวิจัยครั้งนี้ใช้ประชากรในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 จำนวน 133 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย(μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(σ) แล้วนำเสนอ ในรูปแบบตารางประกอบการบรรยาย

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านเอื้อต่อ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 อยู่ในระดับ มาก เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านผู้บริหาร(μ=4.42) ด้านครูผู้สอน(μ=4.28) ด้านอาคารสถานที่(μ=4.10) ด้านชุมชน(μ=3.96) และด้านงบประมาณ(μ=3.86)

ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน ผู้บริหาร เพศชาย มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย สูงกว่าผู้บริหารเพศหญิง ผู้บริหารเพศ ชายมีความคิดเห็นว่า ปัจจัยด้านผู้บริหาร(μ=4.58) เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาการศึกษาระดับปฐมวัยอยู่ในระดับมาก ที่สุด ส่วนผู้บริหารเพศหญิง มีความคิดเห็นว่า ปัจจัยทุกด้านเอื้อต่อการพัฒนาการศึกษาระดับปฐมวัยอยู่ในระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานพบว่า โดยภาพ รวมผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นว่าปัจจัยทุกด้านเอื้อต่อการพัฒนาการศึกษา ระดับปฐมวัยอยู่ในระดับมากเหมือนกัน

ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย ด้านผู้บริหารควรมีความรู้ความเข้าใจใน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาการศึกษาระดับปฐมวัย มีการกำกับติดตามและประเมินผลสม่ำเสมอ ด้านครูผู้สอนควรส่งเสริมครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และครูผู้สอนต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง ที่ดีแก่ผู้เรียน ด้านงบประมาณ ควรพยายามให้ใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนมากที่สุด สถานศึกษาต้องจัดทำ แผนการใช้งบประมาณให้ครอบคลุมทุกด้าน ด้านอาคารสถานที่ ควรจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกให้สวยงาม ร่มรื่นสะอาดปลอดภัยเอื้อต่อกระบวนการการเรียนรู้ ด้านชุมชน ผู้ปกครองและชุมชนควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาดูแล สถานศึกษาและการระดมทรัพยากร

 

Abstract

The purposes of this research are following; To study about Factor Effecting to Quality Development for Kingdom garden in Boundary Primary School between Thailand – Myanmar Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 3. According to steer & porter in 5 factor; head master, teacher, budget, building and community. There are 133 head master of Chiang Mai Primary Educational Service Area Office3. We prefer questionnaires and statistic for information evaluation including; frequency, percent, average (μ) and standard deviation (σ).

The result of this research found that there is high level of Factor Effecting to Quality Development for Kingdom garden in Boundary Primary School between Thailand – Myanmar Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 3 There are following; head master(μ=4.42), teacher(μ=4.28), building(μ=4.28), community(μ=4.10) and budget(μ=3.86)

For the result of Head master’s comparative by sex found that male show opinion about the factor of quality in Primary School Development than female. For men said; the most factor of quality in Primary School Development is head master (μ=4.58) For women said; every factor can effect to quality in Primary School Development. For the result of head master’s comparative by experience found that every factor effect to quality in Primary School Development.

There are 5 suggestion for this research; 1.Head master: they should be understood in Primary lesson clearly, responsibility, vision, planner, follow and evaluation the result of project. Teacher : they should provide lesson which relate to student. They should be good principle for student. They should be plant to following and evaluation. Budget: teacher should spend budget for the greatest benefit in studying. School should plan for budget in every point, following and verify every budget project. Head master Should find budget from Administrative organization, foundation, Alumni and private organization. Building: They should provide both good inside and outside which relate for student. They should build toilet for primary student. Community: Parent should support community in any cases such building repairing, equipment providing etc.

Downloads