การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของ โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • บงกช ปิงเมือง นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สุรพล บัวพิมพ์ อาจารย์ประจำ ดร. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • อัมเรศ เนตาสิทธิ์ อาจารย์ประจำ ดร. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, Local Administration Organization, AEC, School Curriculum Administration

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดลำปาง และ 2) ศึกษาปัญหา และข้อเสนอ แนะการแก้ปัญหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 200 คน ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของโรงเรียน ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดลำปาง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากในภาพรวมและรายด้าน เรียงลำดับค่า เฉลี่ย ได้แก่ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนระดับสถานศึกษา ด้านการกำกับดูแลคุณภาพหลักสูตรระดับสถานศึกษาและ การนำหลักสูตรไปใช้ และด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา สำหรับปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับ น้อย ปัญหาที่ สำคัญ ได้แก่ ขาดแหล่งเรียนรู้อาเซียนในโรงเรียน ขาดการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนอย่างต่อเนื่อง แนวทางแก้ปัญหา คือ จัดตั้งศูนย์เรียนรู้อาเซียนในโรงเรียน และควรอบรมครูเพื่อ การพัฒนาหลักสูตร

 

Abtstract

This research was aimed to study the state of school curriculum administration to accommerdate the ASEAN Economic Community including the problems and the appropriate solutions in the schools under Local Administration Organization, Lampang Province. The studied sample consisted of 200 school administrators, teachers and the school board members. The questionnaire was used to collect the data and then the collected data were analyzed through the application of frequency, percentage, mean and standard deviation.

The major findings indicated that the school curriculum administration was rated at the high level, as a whole and each aspect. Considering the mean scores, the school supporting the curriculum development, the school curriculum monitoring, and the school curriculum design were in descending order. For the problems, it was indicated at a low level, the lack of ASEAN study center in the school, the lack of continuous curriculum development and the lack of personnel educated for AEC were found. Considering the ways to solve the mentioned problems, the AEC center should be established in each school, and the personnel training for AEC should be provided.

Downloads