การพัฒนาหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงชั้นประถมศึกษาปีที 4 โรงเรียนบ้านทุ่งฮ้าง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • มนู วรรณารักษ์ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล อาจารย์ประจำ ดร. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ดุษฎี สีตลวรางค์ อาจารย์ ดร. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง, Sufficiency Economy Curriculum

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่าง ก่อนและหลังการใช้หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อศึกษาพฤติกรรมพอเพียงระหว่างก่อนและหลังการใช้หลักสูตร เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านทุ่งฮ้าง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ปีการศึกษา 2555 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบการวิจัยได้แก่ หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยการเรียนรู้ 5 หน่วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และแบบประเมินพฤติกรรมพอเพียง วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

ได้หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง มีโครงสร้าง 5 หน่วยการเรียนรู้คือ หน่วยที่ 1 รับ – จ่ายอย่างรู้คุณค่าพาชีวิต ให้พอเพียง หน่วยที่ 2 พึ่งตนเองในการเพาะปลูก หน่วยที่ 3 พึ่งตนเองในการบริโภค หน่วยที่ 4 พึ่งตนเองในการดูแล สุขภาพ หน่วยที่ 5 เตรียมตัวเพื่อปลูกข้าวกินเอง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนก่อนเรียนและคะแนนหลังเรียน 15.86 และ 25.00 คิดเป็นร้อยละ 52.86 และ 83.33 โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.47 นักเรียนมีพฤติกรรมพอเพียงหลังการใช้หลักสูตร เศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยพฤติกรรมก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับร้อยละ 69.88 และร้อยละ 92.14 โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.26

 

Abstract

The objectives of this research were to develop a sufficient economic curriculum ,to study achievement and to study the sufficient behavior of students between before and after using the curriculum. The target group is 14 students of grade 4 of Ban Thung Hang School in the academic year 2012. The research instruments were the sufficiency economy curriculum, 5 learning units , a learning achievement test, and sufficient behavior evaluation. Data were analyzed by using percentages, means and standard deviations. The result showed that:

The sufficiency economy curriculum has 5 units namely, 1) pick – pay with careful mess, 2) self cultivation 3) self - consumption, 4) foster care and 5)preparation on your self of rice planting. The learning achievement of the students who using the curriculum have the score points before and after the study were 15.86 points and 25.00 points respectively or 52.86 and 83.33 percent, that they were higher than before 30.47 percent. The sufficient behavior after using the curriculum was higher than before by the score points before and after the study were 69.88 percent and 92.14 percent, that they were higher 22.26 percent

Downloads