การประเมินโครงการประกวดหมู่บ้านน่าอยู่ หน้าบ้านน่ามอง ขององค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • พัชรี สัญญา นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สุวรัฐ แลสันกลาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

การประเมินโครงการประกวดหมู่บ้านน่าอยู่, หน้าบ้านน่ามอง, assessment of mooban ne=aayoo naa ban naa mong or lirable village Project

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการประเมินโครงการประกวดหมู่บ้านน่าอยู่ หน้าบ้านน่ามองขององค์การบริหารส่วนตำบล วิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง นี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อประเมินโครงการประกวดหมู่บ้านน่าอยู่ หน้าบ้าน น่ามอง ขององค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนคร 2) เพื่อเสนอแนะการดำเนินโครงการประกวดหมู่บ้านน่าอยู่ หน้าบ้าน น่ามอง ขององค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนคร โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP (CIPP Evaluation Model) ที่ประกอบ ด้วยด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ คณะผู้บริหาร องค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนคร จำนวน 4 คน คณะกรรมการดำเนินโครงการ จำนวน 11 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็น ประชากรผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 379 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย (\inline \dpi{80} \bar{X}) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ และการวิเคราะห์ความเรียงจากแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม พบว่า โครงการมีความชัดเจน เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายขององค์การ บริหารส่วนตำบลวิเชตนคร ประชาชนมีความเข้าใจต่อวัตถุประสงค์ของโครงการ โครงการ สอดคล้องกับความต้องการ ที่แท้จริงของชุมชน และความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการ ในภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ด้านปัจจัยนำ เข้า พบว่า ศักยภาพความสามารถของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนคร ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อ ต่อการปฏิบัติงาน ความเหมาะสมของแนวทางการดำเนินงานโครงการ และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ อบต. วิเชตนครต่อการจัดทำโครงการประกวดหมู่บ้านน่าอยู่ ในภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการพบว่า การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ มีการปลูกฝังสำนึกการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งเด็ก เยาวชน และ ชุมชน กิจกรรมมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ช่วงเวลาที่จะดำเนินโครงการทางด้านกิจกรรมนั้นๆมี ความเหมาะสม มีการประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และวิธีดำเนินโครงการให้ประชาชนเข้าใจอย่างชัดเจน ในภาพรวมผล การประเมิน อยู่ในระดับมาก ด้านผลผลิตพบว่า โครงการได้ช่วยให้สิ่งแวดล้อมในชุมชนมีความสวยงาม น่าอยู่มากขึ้น โครงการได้ช่วยให้ประชาชนเกิดการสร้างนิสัยในการรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบเรียบร้อยมากขึ้น การใช้ ทรัพยากรในการดำเนินงาน มีความคุ้มค่าและการดำเนินงานโครงการสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ในภาพรวมผล การประเมิน อยู่ในระดับมาก

โดยสรุปการประเมินโครงการประกวดหมู่บ้านน่าอยู่ หน้าบ้านน่ามองขององค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง อยู่ในระดับมาก แนวทางแก้ไขปรับปรุง ควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในดำเนิน โครงการ ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการ แก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมให้เกิดการสานต่อโครงการนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป

 

Abstract

The study titled ‘Assessment of the Moo Ban Naayoo, Naa Ban Na Mong or Livable Village Project, Wichet Nakhon Sub-district Administration (WNSA), Chae hom district, Lampang province’ had the objectives to 1) assess the livable village project of the WNSA and 2) recommend the livable village project of WNSA using CIPP Evaluation Model which consisted of context, input factor process and product. The sample group consisted of 4 executives of the WNSA, 11 project operation committee members and 379 people who participated in the project. The tools used in the study were a questionnaire and an interview form. The data were analyzed for statistics: percentages, means and standard deviations using a computer package and contents analysis for the interview form. The findings were:

The context or the environment: it was found that the project was clear, suitable and in accord with the WNSA policies. The people understood the project’s purposes; the project was in accord with the true needs of the community and the real needs to have the project. The overall picture of the assessment results was at level high. For the input: it found the potential and abilities of the WNSA officers, the readiness of the materials supporting the operation, the suitability of the project’s guidance and the responsibility of the WNSA officers towards the project overall picture at level high. For the process: there were participation of the project’s concerned persons; nurturing of environmental conservation for the concerned persons including children, youth and community; activities in according with project’s objectives; appropriate activity time period; clear understanding of project’s objectives and operation methods through meetings. The overall picture of the assessment of the process was at level high. For the product: it was found that the project had helped the community to beautiful and nice to live. The project helped the people and created clean and tidier habit. The resource utility in the operations was appropriate and worthwhile; the project was finished at the specified time and the overall assessed picture was at level high.

In summary, the livable village project of WNSA, Chae hom district, Lampang province was assessed at level high. However the recommendations were as followed: there should be encouragement for the people to participate in the project operations and cover every village. There should be increased public relations of the project operations to the people and to other concerned organizations so the project can be continued.

Downloads