การบริหารแบบมีส่วนร่วมตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ ยะตะนัง นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • อัมเรศ เนตาสิทธิ์ อาจารย์ประจำ ดร. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

การบริหารแบบมีส่วนร่วม, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, participatory management, small child daycare centers attached to subdistrict administrative organizations

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วม ปัญหาและข้อเสนอแนะในการแก้ไข ปัญหาการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล นักวิชาการศึกษา ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 274 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่ง ชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การบริหารจัดการศูนย์เด็กเล็ก การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และคุณภาพเด็ก สภาพปัญหาที่พบคือ งบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการ ขาดแคลนงบประมาณในการจัดหาสื่อ วัสดุและอุปกรณ์ที่ ใช้เสริมพัฒนาการเด็ก ตลอดจนฐานะทางครอบครัวที่ยากจนและขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครอง ส่วนแนวทาง การแก้ปัญหาการบริหารแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ ควรมีการประชุมหารือร่วมกันระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำแผน พัฒนาศูนย์เด็กเล็กเพื่อกำหนดกิจกรรมโครงการร่วมกัน การรวมศูนย์ในแต่ละตำบลให้เป็นศูนย์เดียวและควรจัดกิจกรรม ร่วมกับชุมชนเพิ่มขึ้น

 

Abstract

The objective of this study was to assess the conditions, problems and proposed solutions to issues involving participatory management in accordance with the National Standard Benchmark for Small Child Daycare Centers at small child daycare centers attached to Subdistrict Administrative Organizations in Lampang Municipality, Lampang Province. The sample group in this study consisted of 274 Subdistrict Administrative Organization administrators, academics in the field of education, childcare workers, and parents of children at daycare centers. The research instrument consisted of a questionnaire, and the statistics used in analyzing the data were frequency, percentage, mean, and standard deviation.

It was found that the conditions of participatory operation in accordance with the National Standard Benchmark for Small Child Daycare Centers at the small child daycare centers studied were, overall, at an average level of participatory performance in all areas. In order of highest to lowest, these areas included small child daycare center administration, management of learning processes for child development, and quality of children. Problems found included insufficient management and administrative budget allocation, insufficient budget allocation for media, materials and equipment for child development, and underprivileged family backgrounds and lack of proper care and attention from families.

Solutions to the problems facing participatory management include dialogue between parties involved in the management of development plans of small child daycare centers to set joint projects and activities, amalgamating centers in each subdistrict into a single center, organizing additional activities and projects involving the community to create quality children and develop higher quality small child daycare centers.

Downloads