กระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านทรัพยากรบุคคลของ โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ปณิชา พงษ์นิกร นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ธนวิทย์ บุตรอุดม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

กระบวนการบริหารความเสี่ยงด้ายทรัพยากรบุคคล, risk administration process for human resources

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านทรัพยากรบุคคล อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปางมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านทรัพยากรบุคคล ของโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง ประชากรที่ใช้ใน การศึกษาแบ่งเป็น 2 กล่มุ ได้แก่ 1) ผู้บริหารจำนวน 5 คนโดย การสัมภาษณ์ 2) ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 150 คนนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผล ของการศึกษา สรุปได้ว่า กระบวนการการกำหนดวัตถุประสงค์หรือนโยบายด้านการบริหารความเสี่ยงด้านทรัพยากร บุคคลในภาพรวมมีการทบทวนอยู่ในระดับเป็นบางครั้งเนื่องจาก มีการปรับนโยบายการบริหารความเสี่ยงหลักของ โรงพยาบาลให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

การค้นหาและระบุความเสี่ยงในภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับเป็นบางครั้ง เนื่องจากการมีส่วนร่วม ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในยังไม่ได้ทำอย่างทั่วถึง และการประสานงานของคณะกรรมการ ความเสี่ยงและผู้ประสานงานความเสี่ยงยังไม่ครอบคลุม

การประเมินความเสี่ยงในภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับเป็นบางครั้งเนื่องจากการวิเคราะห์ความเสี่ยง ด้านทรัพยากรบุคคลในทุกหมวดหมู่ให้มีการปรับปรุงโดยแยกตามประเด็นสำคัญที่แตกต่างกันออกไปให้ชัดเจนมากยิ่ง ขึ้นและส่งผลให้ต้องมีการปรับปรุงในส่วนของกำหนดเกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยงด้านทรัพยากรบุคคล

การจัดการหรือการบริหารความเสี่ยงในภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับเป็นบางครั้งเนื่องจากได้มีการนำ เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้กับการปฏิบัติงานเพื่อลดความเสี่ยงด้านทรัพยากรบุคคลเช่นการจัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากรเพื่อ ให้ง่ายต่อการค้นหาและการรายงานต่อผู้บริหาร แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังต้องมีการปรับปรุงในส่วนของฐานข้อมูลในเรื่อง ของการรายงาน อีกทั้งบุคลากรภายในโรงพยาบาลยังไม่ได้รับการอบรมให้ความรู้ด้านการบริหารความเสี่ยงอย่างทั่วถึง

การรายงานในภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับเป็นบางครั้ง มีการรวบรวมข้อมูลและรายงานความเสี่ยง อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งในอดีตได้มีการรวบรวมและรายงานผลในรูปแบบของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง หลัก แต่ในปีถัดมาได้มีการปรับปรุงให้มีผู้ประสานงานในหน่วยงานต่างๆเพื่อรายงานผลต่อคณะกรรมการอีกที เพื่อให้ เกิดการครอบคลุมในการทำงานมากยิ่งขึ้น

การติดตามและประเมินผลมีการดำเนินการอยู่ในระดับเป็นบางครั้ง เนื่องจากหน่วยงานได้มีการปรับปรุงคณะ กรรมการตรวจสอบภายในและควบคุมภายในที่มาช่วยในการติดตามการบริหารความเสี่ยง ในแต่ละส่วน และให้หน่วยงานมีการรายงานความคืบหน้าของความเสี่ยงที่พบในหน่วยงานของตัวเองเป็น ประจำ

 

Abstract

This independent study titled ‘Risk administration process for human resources, Lampang Cancer Hospital, Mueang Lampang district, Lampang province’ had the objective to study the risk administration process of Lampang Cancer Hospital.

The population in this study was divided into 2 groups: 1) 4 executives collected data by interviews and 2) government officials, permanent employees, government staff and temporary employees totaled 150 persons. Data were analyzed for the statistics of percentage, means and standard deviations. The findings of the study could be concluded as follows : The process for setting objectives or risk management policies for human resources in the overall picture was reviewed at the level sometimes because there was the adjustment of the hospital’s main risk administration policy to be in accord with the risk administration committee of the Medical Department, Ministry of Public Health.

Risk seeking and identifying were done at level sometimes because the participation in the internal and external environment or threats did not cover all and the coordination of the Risk Committee and the Risk Coordinators did not cover all.

Risk assessment overall picture was done at level sometimes because the analysis of human resources risk in all sections prescribed the improvement by divided into different issues clearer and affected the improvement of the criteria for human resources risk assessment.

Risk management or administration overall picture was done at level sometimes because modern technology was brought in to operate and reduce the human resources risks such as the keeping of personnel databases so they are easy to search and report to the executive. However the databases need to be improved in the part of reporting and not all personnel inside the hospital have been trained to be knowledgeable in risk administration.

Reporting overall picture was at level sometimes. There were data collection and risk reporting continuously and constantly in the past done in the form of the main risk administration committee but in the later years there was a change by having one coordinator in various departments to report to the committee to cover more aspects of work.

Follow-ups and evaluation were done at level sometimes because this organization adjusted the internal verification and control committee that helped follow-up the risk administration at each department and had the department report the progress of risks found in its own department constantly.

Downloads