การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการความรู้โดยชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อสร้างนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาไห (ตาปะขาวหาย)
คำสำคัญ:
เครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาไห, เศรษฐกิจพอเพียง, นวัตกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและการจัดการความรู้ประวัติศาสตร์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาไห (ตาปะขาวหาย) จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนมีส่วนร่วม 3) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมชุมชน การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 320 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการทดสอบค่าสถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-Way ANOVA) จากการทดสอบเป็นรายคู่ใช้วิธี LSD และข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาไห โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การวางแผนการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านผู้นำและการบริหารวิสาหกิจชุมชนด้านการจัดการเรียนรู้ด้านการบริหารสมาชิกวิสาหกิจชุมชนด้านการบริหารการตลาด และด้านกระบวนการจัดการความรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 2) การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาไหปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา รายได้จากอาชีพหลักและระยะเวลาการเป็นสมาชิก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาไห พบว่า ควรมีการจัดสถานที่แสดงสินค้าถาวร โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ การประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานภายนอกได้รู้ถึงคุณลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์บนเครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาไห (ลายอุ) ที่แตกต่างจากแหล่ง อื่น ๆ และทางหน่วยงานภาครัฐควรมีการจัดฝึกอบรมให้กับสมาชิกเกี่ยวกับการจัดทำบัญชี รายรับ - รายจ่าย การคำนวณต้นทุนการผลิต กลุ่มวิสาหกิจชุมนเครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาไหควรได้รับการพัฒนาและการศึกษาดูงานจากสถานที่จริง
References
กัญญารัตน์ กิ่งก่ำ. (2555). ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านม่องหินแก้ว ตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กฤษณ์สัมพันธ์ เมนะสูต. (2560, มิถุนายน 26). แนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. มติชน: 7.
ชวาวุฒิ ลาภมาก. (2553). ศึกษารูปแบบการจัดระบบความรู้และกระบวนการขับเคลื่อนความรู้ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนธรณีคำแขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาการบริหาการพัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
บรรเลง อินทร์จันทร์ และคณะ. (2561). วิถีชีวิตชุมชน กรณีศึกษานิคมสร้างตนเองพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิก. 4(1), 1-2
วิไลวัจน์ กฤษณะภูติ. (2561). ศาสตร์พระราชาพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมโลก. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 8(2), 1-9
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ร่างยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี. [ออนไลน์] แหล่งที่มา www.nesdb.go.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562.
Fitzgerald, J. and Leigh, N.G. (2002). Economic Revitalization: Cases and Strategies for City and Suburb. n.d: SAGE Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง