การสื่อสารการตลาดคุณภาพทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • สินีนาถ วิกรมประสิทธิ
  • ภาศิริ เขตปิยรัตน์
  • ธิดารัตน์ เหมือนเดชา
  • ธนกร สิริสุคันธา
  • สุกัญญา สุจาคำ

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาด, คุณภาพทุเรียน, ทุเรียนหลงลับแล, ทุเรียนหลินลับแล

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องการสื่อสารการตลาดคุณภาพทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสื่อสารการตลาดคุณภาพทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแล 2) พัฒนาเครื่องมือการสื่อสารการตลาดคุณภาพทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแล และ 3) ทดลองใช้และประเมินผลเครื่องมือการสื่อสารการตลาดคุณภาพทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์  โดยศึกษาในประเด็นการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการ เครื่องมือ/ช่องทางการสื่อสารการตลาด องค์ประกอบแสดงหน้าที่และกระบวนการสื่อสาร และการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลเครื่องมือหรือสื่อทางการตลาดที่นำเสนอให้ผู้บริโภครับรู้เกี่ยวกับคุณภาพทุเรียนหลง - หลินลับแล การสื่อสารการตลาดในแต่ละช่องทางที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภค และทำให้ผู้บริโภคสามารถศึกษาวิธีการบริโภคและเลือกทุเรียนที่มีคุณภาพด้วยตนเอง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการรับรองสินค้าหลังการขายและข้อร้องเรียนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้ง การคืนข้อมูลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อดำเนินการสอบยันข้อมูลให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และเป็นแนวทางการพัฒนาสื่อทางการตลาดด้านมาตรฐานคุณภาพทุเรียนที่จะนำไปใช้อย่างแพร่หลาย

          ผลการวิจัยพบว่าการสื่อสารการตลาดคุณภาพทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ควรสื่อสารในประเด็นคุณภาพทุเรียนเกี่ยวกับลักษณะเนื้อและรสชาติ วิธีการเลือกทุเรียนคุณภาพ อาทิ สีของเนื้อทุเรียน สีเปลือก หรือแหล่งที่ซื้อทุเรียนคุณภาพ ส่วนเครื่องมือการสื่อสารการตลาดควรประกอบด้วย การสื่อสารทางเฟสบุ๊ค (Face book) การขายริมทาง การสื่อสารทางโทรศัพท์ การจัดกิจกรรมทางการตลาด (Event) การสื่อสารทางไลน์ (line) การสื่อสารโดยใช้ QR Code เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ซื้อทุเรียนโดยการให้ความรู้แก่ผู้ซื้อทุเรียน และสร้างความมั่นใจในคุณภาพของทุเรียนก่อนการตัดสินใจซื้อทุเรียน และการทดลองใช้และประเมินผลเครื่องมือการสื่อสารการตลาดคุณภาพทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแลพบว่า การใช้สื่อทางเฟสบุ๊ค เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด รองลงมาคือ การสื่อสารทางโทรศัพท์ การจัดกิจกรรมทางการตลาด การสื่อสารออนไลน์ และการสื่อสารโดยใช้ QR Code ตามลำดับ

References

การประชุมโครงการ. (2557). ศึกษาและพัฒนาการจัดการธุรกิจการเกษตรเพื่อลดความเสียเปรียบของเกษตรกรในกลไกการตลาดทุเรียนหลงลับแล - หลินลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วันที่ 31 ก.ค 2557

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2562). การสื่อสารทางการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สินี เสรีวัฒน์. (2561). การสื่อสารการตลาด. (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://www.sara-dd.com/ สืบค้นเมือวันที่ 25 มี.ค.2561

สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์. (2560). มหัศจรรย์ทุเรียนเมืองอุตรดิตถ์. (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://www.uttaradit.go.th/doc/turean_utt.pdf. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2560.

ศิริวรรณ เสรีรัตร์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา และจิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์.(2562). หลักการตลาด .กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-12-2020