การบริหารงานศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จุฑามาส ศรีทองคำ Office of the Vocational Education Commission.
  • กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์

คำสำคัญ:

การบริหารงาน, ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ, อาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เสนอแนวทางการบริหารงานศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการวิทยาลัย รองผู้อำนวยการวิทยาลัย หัวหน้าศูนย์และบุคลากรที่ทำหน้าที่ประจำศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 102 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. สภาพปัญหาการบริหารศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาการบริหารงานของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร รายด้านประกอบด้วย 1) ด้านการฝึกอบรม 2) ด้านการบ่มเพาะ 3) ด้านนวัตกรรม 4) ด้านธุรการ
  2. 2. แนวทางการบริหารงานศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศในเขตกรุงเทพมหานคร สรุปได้ดังนี้ ด้านการฝึกอบรมควรมีการสรรหา พิจารณา คัดเลือกผู้เรียนที่มีศักยภาพ หรือผู้ที่สนใจเข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ด้านบ่มเพาะควรสร้างเครือข่ายธุรกิจ การประสานงานกับหน่วยงานภายในและภายนอก เพื่อบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการอาชีวศึกษาอย่างต่อเนื่อง ด้านธุรการดูแลให้คำปรึกษาด้านการจัดตั้งธุรกิจ การเขียนแผนธุรกิจ การจดทะเบียนธุรกิจ ด้านการจัดการ การผลิต ด้านการตลาดและด้านการเงินการบัญชีอย่างต่อเนื่อง และด้านนวัตกรรมควรส่งเสริม สนับสนุนให้ ผู้เข้ารับการบ่มเพาะ แสวงหาและพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์เพื่อนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ และการจดอนุสิทธิบัตรเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน

References

เจิดฤดี ชินเวโรจน์. (2562). การพัฒนาระบบการขับเคลื่อนศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 หน้า 40 – 46.

ชีวัน ทองสอดแสง และคณะ. (2560). ปัจจัยสำเร็จของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. ปีที่ 7 ฉบับพิเศษ หน้า 2 – 10

ภูมิมิพัฒ มิงมมาลัยรักษ์. (2561). ปัจจัยสำเร็จของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 หน้า 129-153.

เสกสรร ปิวศิลป์ศักดิ์. (2562). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564). สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาแนวใหม่ (Management Innovation in Higher Education). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษา. (2561). บันทึกข้อความรายงานผลการประเมินศูนย์บ่มเพาะ ผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ระดับจังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด กรุงเทพมหานคร. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-03-2021