การศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดจำหน่ายลางสาดและลองกองพื้นที่ทิวเขาผีปันน้ำตะวันออกในจังหวัดอุตรดิตถ์ กรณีศึกษา ตำบลแม่พูล ตำบลบ้านด่านนาขาม และตำบลนางพญา
คำสำคัญ:
การผลิต, การตลาดลางสาดลองกอง, แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดจำหน่าย, พฤติกรรมการบริโภค, การตัดสินใจซื้อบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์การผลิต การตลาด และสภาพช่องทางการจัดจำหน่ายลางสาดและลองกอง 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและการตัดสินใจซื้อลางสาดและลองกอง และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดจำหน่ายลางสาด และลองกอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เกษตรกรเจ้าของสวน ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ค้าคนกลางสลและผู้บริโภค เครื่องที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ปี 2562 พื้นที่เพาะปลูกและปริมาณผลผลิตลางสาดลดลงจากปี 2561 ราคาตกต่ำและไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เกษตรกรส่วนมากปลูกเพื่ออนุรักษ์ ส่วนพื้นที่ปลูกลองกอง ปี 2562 มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2561 แต่ราคาขายลดลง ลางสาดและลองกองส่วนมากจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลางต่างจังหวัด ผลผลิตที่เหลือจำหน่ายที่ตลาดในพื้นที่ พฤติกรรมการบริโภค พบว่า ส่วนใหญ่ผู้บริโภคซื้อครั้งละ 2 กิโลกรัม ซื้อเพราะรสชาติและคุณภาพ พฤติกรรมผู้ค้าคนกลางซื้อจากเกษตรกรทุกเบอร์จะให้ราคาต่ำ ส่วนที่มีการคัดเกรดจะซื้อในราคาที่สูงขึ้น ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ มากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดจำหน่าย คือ รูปแบบที่ 1 เกษตรกรคัดแยกคุณภาพลางสาด และลองกองเอง และจำหน่ายให้กับผู้ค้าคนกลางที่ตลาดผลไม้ รูปแบบที่ 2 กลุ่มของเกษตรกร ทำลางสาดและลองกองคุณภาพ รูปแบบที่ 3 รัฐสนับสนุนงบประมาณกับเกษตรกรในท้องถิ่นที่ห่างไกล และรูปแบบที่ 4 เกษตรกรจำหน่ายแบบออนไลน์
References
กฤชพร ศรีสังข์. (2559). โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตลองกองคุณภาพในสภาพแวดล้อม เปลี่ยนแปลงเขตภาคเหนือตอนล่าง. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.
กิตติยา อินทร์ชัย. (2554). พฤติกรรมการซื้อผลไม้ของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.
ณรงค์ศักดิ์ น่วมเจริญ. (2558). ผู้นำกับการสร้างชุมชนเกษตรอินทรีย์ ศึกษาผ่านผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านชำปลาไหล ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุตรดิตถ์. (2561). มูลค่าการผลิตลางสาด ลองกอง. [ออนไลน์], แหล่งที่มา https://web.facebook.com/UTTARADITPRD/posts/248732902453365/?_rdc=1&_rdr. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2561.
รุ่งทิพย์ ชัยพรม, เกตุมณี มากมี และเสริมศักดิ์ นันทิทรรภ. (2558). กระบวนการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำใจ ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 6(1), 165 - 175.
รัชนีกร ปัญญา. (2561). การวิจัยเพื่อพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน. รายงานผลวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วาสนา เชื้อมี. เกษตรกรพื้นที่ตำบลแม่พูล ผู้ให้สัมภาษณ์. 27 มิถุนายน. (2562). ปัญหาการจัดจำหน่ายผลผลิตลางสาดและลองกอง. (เทปบันทึกเสียง). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สุวิมล ติรกานันท์. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภางค์ จันทวานิช. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์ (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน. [ออนไลน์], แหล่งที่มา http://www.uttaradit.go.th/utt new/img/file/_แผนพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์%202561-2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561.
อัจฉรียา โชติกลาง. (2561). ช่องทางการจัดจำหน่ายสำหรับสับปะรด อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. ในการประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 6 (น. 1530 -1538). ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึง.
Moser, C. A., & Kalton, G. (1972). Survey Methods in Social Investigation. New York: Basic Book.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง