การส่งเสริมแนวคิดธรรมาธิปไตยให้มีอิทธิพลต่อคนรุ่นใหม่

ผู้แต่ง

  • พระเดชขจร ขนฺติธโร
  • พระครูวิจิตร ปัญญาภรณ์
  • พระมหาวิเชียร ธมฺมวชิโร
  • เขมณัฐ ภูกองไชย
  • กันทนา ใจสุวรรณ

คำสำคัญ:

การส่งเสริมแนวคิด, ธรรมาธิปไตย, คนรุ่นใหม่

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์การส่งเสริมแนวคิดธรรมาธิปไตย ให้มีอิทธิพลต่อคนรุ่นใหม่ ธรรมาธิปไตยไม่ใช่รูปแบบการปกครอง แต่เป็นหลักการที่สามารถประยุกต์ใช้ในการปกครองได้ หลักธรรมาธิปไตยเป็นแนวคิดที่เน้นธรรมเป็นใหญ่ ประกอบด้วยการแสดงออกด้านศีลธรรม จริยธรรม และคุณธรรม มีอรรถประโยชน์ในการลดความขัดแย้งในสังคมมาแต่ครั้งพุทธกาล และแฝงอยู่ในจิตใจองคนไทยส่วนใหญ่มาอย่างยาวนาน เมื่อคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ธรรมาธิปไตยแล้ว จะช่วยสร้างสุขภาวะทางจิตทั้งปัจเจกบุคคลและองค์รวม เพราะหลักธรรมนี้จะคอยควบคุมมิให้บุคคลไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น สังคมที่เข้มแข็งจะมีธรรมาธิปไตยสนับสนุนให้มีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ธรรมาธิปไตยจึงเปรียบเหมือนผู้คอยกำกับพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ ให้แสดงออกเฉพาะสิ่งที่ดีงามซึ่งจะช่วยยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ดังนั้น วิธีป้องกันมิให้ประชาธิปไตยไทยเผชิญกับความเสื่อม คือการให้ความรู้ธรรมาธิปไตย กับพลเมืองรุ่นใหม่ที่เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาชาติ เพื่อให้สังคมไทยอุดมไปด้วยคนรุ่นใหม่ที่มีสัมมาทิฏฐิหรือความเห็นชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความตื่นตัวทางการเมือง ยิ่งสังคมใดที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับธรรมเป็นใหญ่ สังคมนั้นก็จะยิ่งเป็นสังคมประชาธิปไตยที่เที่ยงธรรมและเข้มแข็ง เปรียบเสมือนหน้าดินที่มีต้นหญ้าคอยให้ความชุ่มชื้น และรักษาอุดมสมบูรณ์ของหน้าดินอยู่ตลอดเวลา

References

ฉัณทิพย์ จำเดิมเผด็จศึก และวรรณธนพล หิรัญบูรณะ. (2561, พฤษภาคม-สิงหาคม). การส่งเสริมประชาธิปไตยด้วยหลักธรรมาธิปไตย. วารสารรัชต์ภาคย์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 12(26): 101-113.

นครินทร์ แก้วโชติรุ่ง. (2554). ธรรมาธิปไตยในฐานะเป็นเครื่องมือพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทย. สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2538). ความคิดทางการเมืองในพระไตรปิฎก. พิมพ์ครั้งที 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พสิษฐ์ ไชยวัฒน์. (2561, 11 ตุลาคม). บทบาทคนรุ่นใหม่กับประชาธิปไตยช่วงเปลี่ยนผ่าน: ความหวังหรือความฝัน. ประชาไท. [ระบบออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://prachatai.com /journal/2018/10/79100 สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภคม 2563.

พุทธทาสภิกขุ. (2531). การเมืองคือธรรมะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อรุณวิทยา.

พระครูปริยัติสารโสภิต, พระครูคุณสารโสภณ และพระเดชขจร ขนฺติธโร. (2561). ความเท่าเทียมกันของการเผยแผ่หลักเบญจศีล-เบญจธรรมในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. วารสารวิชาการพระพุทธศาสนาเขตลุ่มแม่น้ำโขง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2561): 64-72.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: กองทุนอริยมรรค.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ (จุดบรรจบ: รัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). จารึกอโศก (ธรรมจักรบนเศียรสี่สิงห์) รัฐศาสตร์แห่งธรรมาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย (ฉบับ 45 เล่ม) ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลภาษาไทย (ฉบับ 91 เล่ม) ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

แมนพาวเวอร์กรุ๊ปประเทศไทย (www.manpowerthailand.com). (2562). ผลสำรวจคนรุ่นใหม่ยุคดิจิตัล ชีวิตการทำงานต้องยืดหยุ่นตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์. [ระบบออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.onlinenewstime.com/pr-news/ สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2563.

ยืน ภู่วรวรรณ. (2561). คนรุ่นใหม่กับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล. [ระบบออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/FutureLearningPlatform/1127/ สืบค้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2563.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ว. วชิรเมธี. (2551). ธรรมาธิปไตย. กรุงเทพฯ: โพสต์บุ๊กส์.

สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2559). โครงการศึกษาวิจัยรูปแบบการเรียนรู้สำหรบคนรุ่นใหม่. สำนักบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). ม.ป.ท.

สังวรณ์ ลิปตพัลลภ. (2559). ธรรมาธิปไตยกับประชาธิปไตยในบริบทสังคมไทย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

อรณิช รุ่งธิปานนท์. (2560). คนรุ่นใหม่กับการเป็นสมาชิกรัฐสภา. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อุดมศักดิ์ สนธิพงษ์. (2555). สิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

Castells, Manuel. (2000). The Rise of the Network Society, the Information Age: Economy, Society and Culture. Vol. I, 2nd, Oxford, UK: Backwell.

Inter-Parliamentary Union. (2016). รายงานการศึกษาเรื่อง “Youth Participation in National Parliaments 2016” อ้างถึงใน อรณิช รุ่งธิปานนท์. (2560). คนรุ่นใหม่กับการเป็นสมาชิกรัฐสภา. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร.

Habermas, Jurgen. (1989). The Structural Transformation of the Public Sphere: An Inquiry into a Category of Bourgeois Society, Thomas Burger, Cambridge Massachusetts: The MIT press.

Kurlantzick, Joshua. (2013). Democracy in Retreat: The Revolt of the Middle Class and the Worldwide Decline of Representative Government. London UK: Yale.

McNair, Brian. (2006). Cultural chaos: Journalism, News and Power in a Globalised World. United Kingdom: Routledge Press.

Naím, Moisés. (2013). The End of Power: From Boardrooms to Battlefields and Churches to States, Why Being In Charge Isn't What It Used to Be. New York, NY: Basic Books.

Nye, Jr. Joseph S. (2011). The Future of Power. New York, NY: Public Affairs.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2021