การพัฒนาแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • คัชพล จั่นเพชร

คำสำคัญ:

คุณภาพการบริการ, การรับรู้คุณค่าของนักท่องเที่ยว, องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการคุณภาพการบริการ การรับรู้คุณค่าของนักท่องเที่ยว และ องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัย ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลหลักจากการคัดเลือกแบบเจาะจง ซึ่งผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ที่มีหน้าที่จัดการแหล่งท่องเที่ยวและเป็นผู้ที่มีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการและส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัย จำนวน 9 ท่าน โดยผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ด้วยการจัดหมวดหมู่ตามประเด็นที่ศึกษา เชื่อมโยงข้อมูลกับปรากฏการณ์ เพื่อนำเสนอในลักษณะรูปแบบความเรียง

          ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการพัฒนาการจัดการแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัย ผู้วิจัยสามารถสรุปออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) การจัดการแหล่งท่องเที่ยวด้านคุณภาพการให้บริการ บริเวณพื้นที่บางส่วนยังใช้อุปกรณ์การสื่อสารและการให้บริการไม่เป็นไปตามยุคสมัย อีกทั้งยังขาดการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน ส่วนสภาพแวดล้อมของสถานที่ท่องเที่ยวยังไม่สามารถดึงดูด ความสนใจของนักท่องเที่ยวได้มากเนื่องจากมีสภาพอากาศที่ร้อน ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวอาจกระจุกตัวในบางช่วงฤดูกาล 2) การจัดการแหล่งท่องเที่ยวด้านการสร้างการรับรู้คุณค่า ของนักท่องเที่ยว ในส่วนการจำหน่ายสินค้าบางแห่งยังมีราคาที่ผู้ซื้อมีความรู้สึกไม่คุ้มค่า และไม่สมเหตุสมผลกับเงินที่เสียไป อาจทำให้เกิดข้อเปรียบเทียบกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และ 3) การจัดการแหล่งท่องเที่ยวด้านองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว ด้านความเป็นธรรมชาติ ของแหล่งท่องเที่ยวยังมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น และมีคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถแสดงถึงประเพณีวิถีชีวิตที่ดีงามได้เป็นอย่างดี

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 4 พ.ศ.2560-2564. [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://www.mots.go.th/old/more_news. php?cid=66&filename=index. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิตินักท่องเที่ยว ปี 2562. [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://www.mots.go.th/old/more_news.php?cid=525&filename=index. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2562.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถานการณ์ท่องเที่ยว เดือนธันวาคม 2562. [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://www.mots.go.th/images/InforgraphicStatistic/INFO_Dec62.jpg สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). ทิศทางท่องเที่ยวไทยในปี 2562. [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://www.tatreviewmagazine.com/article/tourism-thailand-2562/ สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2562.

ดวงกมล บุญทวีทรัพย์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์. (2562). การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับผู้ให้บริการในธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ท้อป.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2562). ‘สุโขทัย’ ต้นแบบท่องเที่ยวเชิงอาหาร หนุน ‘อาหารท้องถิ่น’ ปั้นรายได้ชุมชน. [ออนไลน์] แหล่งที่มา. https://www.prachachat.net/tourism/news-348739. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563

พรประภา ไชยอนุกุล. (2557). คุณภาพการให้บริการของสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

โพสต์ทูเดย์. (2562). อพท.ดันสุโขทัยเมืองมรดกโลกเป็นแหล่งท่องเที่ยว “Low Carbon”. [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://www.posttoday.com/pr/599042. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563.

มนัสสินี บุญมีศรีสง่า, ภาพิมล ปิ่นแก้ว และปาลินี สกุลตั้งมณีรัตน์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อตลาดฉัตรศิลาในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ศิลปากร, 6(1), 648-660.

วิชสุดา ร้อยพิลา. (2558). ปรีดา ไชยา. องค์ประกอบของทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดกาฬสินธุ์โดยใช้ข้อมูลภายใน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3), 197-211.

อัศวิน แสงพิกุล. (2562). ระเบียบวิธีวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Naumann, E., & Giel, K. (1995). Customer satisfaction measurement and management. Chmcimmati, OH: Thomson Executive Press. Research, (June), 23-24.

Zeithaml, V. A., Parasuraman, A., & Berry, L. L. (1990). Delivering quality service: balancing customer perceptions and expectations. New York: The Free Press.

Zeithaml, V. A., & Bithner, M. J., Gremler, D. D. (2009). Service Marketing: Integrating Cu.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-07-2021