การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักศึกษาครูสาขาวิชาคอมพิวเตอร์โดยใช้ผังกราฟิก

ผู้แต่ง

  • ปราโมทย์ พรหมขันธ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • กนิษฐ์กานต์ ปันแก้ว
  • ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก
  • พงศพัทธ์ โพธิ
  • ตุลา คุ้มครอง
  • ปวีณา เครือจันต๊ะ

คำสำคัญ:

ผังกราฟิก, ทักษะการคิดเชิงคำนวณ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลและนำเสนอแนวทาง การใช้ผังกราฟิกในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักศึกษาครูสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ กลุ่มเป้าหมาย คือนักศึกษาครู ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาขั้นตอนวิธีและการเขียนโปรแกรม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน แยกเป็นเพศหญิง 8 คน เพศชาย 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ สมุดบันทึกการเรียนรู้ แบบทดสอบปลายภาคเรียน และแบบประเมินทักษะการคิดเชิงคำนวณ  

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักศึกษาครู 4 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ( = 4.31) ด้านการออกแบบขั้นตอนวิธีแก้ปัญหา มีค่าเฉลี่ย 4.50 มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการหารูปแบบของปัญหา 4.40 ด้านการแยกส่วนประกอบและการย่อยปัญหา 4.25 และด้านการคิดเชิงนามธรรม มีค่าเฉลี่ย 4.10 2) แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ ประกอบไปด้วย ผลการเรียนรู้ 6 ด้าน คือ 1) คุณธรรม จริยธรรม 2) ความรู้ 3) ทักษะทางปัญญา 4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6) ทักษะการจัดการเรียนรู้ และ แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ 4 ด้านโดยใช้กิจกรรม ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) สมุดบันทึกการเรียนรู้ 3) การเขียนสรุปงานค้นคว้าด้วยผังกราฟิก (graphic organizer) 4) การนำเสนอโครงงาน และ 5) แบบประเมินทักษะการคิดเชิงคำนวณ

References

เกษมรัสมิ์ วิวิตรกุลเกษม. (2557). การยกระดับวิธีการเรียนรู้สู่ห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ 21 ด้วยรูปแบบ Intel©Teach, รวมบทความเรื่องเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา: นวัตกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน. หน้า121 - 146. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2561). ยูบิควิตัสเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ : การออกแบบที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : หน่วยปฏิบัติการวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2557). การออกแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายสังคมเพื่อขยายการมีส่วนร่วมในการเรียนของผู้เรียน, รวมบทความเรื่องเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา: นวัตรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน. หน้า 47 - 77. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณิสรา จั่นแย้ม และปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2563). การใช้ผังความคิดกราฟิกแบบร่วมมือออนไลน์ในการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เชิงธุรกิจและจริยธรรมของนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปีที่ 48 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2563. หน้า 228 - 240.

ภาสกร เรืองรอง, รุจโรจน์ แก้วอุไร และศศิธร นาม่วงอ่อน. (2561). Computational Thinking กับการศึกษาไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์. ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2561. หน้า 332 - 330.

รณชัย จันทร์แก้ว. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนวรรณคดีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิจารณ์ พานิช. (2562). วิจัยชั้นเรียนเปลี่ยนครู. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.อาร์พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

อพัชชา ช้างขวัญยืน, ประหยัด จิระวรพงศ์ และทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงาน หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนิสิตปริญญาตรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2559. หน้า 20 - 28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022