ต้นทุนและผลตอบแทนพืชเศรษฐกิจในสวนวนเกษตร บนทิวเขาผีปันน้ำตะวันออกในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
ต้นทุนและผลตอบแทน, พืชเศรษฐกิจ, สวนวนเกษตร, ทิวเขาผีปันน้ำตะวันออก, จังหวัดอุตรดิตถ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาต้นทุนจากการปลูกพืชเศรษฐกิจในสวนวนเกษตรบนทิวเขาผีปันน้ำตะวันออกในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ 2) ศึกษาผลตอบแทนจากการปลูกพืชเศรษฐกิจในสวนวนเกษตรบนทิวเขาผีปันน้ำตะวันออกในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ 3) เปรียบเทียบต้นทุนจากการปลูกพืชเศรษฐกิจในสวนวนเกษตร บนทิวเขาผีปันน้ำตะวันออกในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์กับต้นทุนเฉลี่ยของประเทศ การวิจัยนี้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจในสวนวนเกษตรในตำบลบ้านด่านนาขาม ตำบลแม่พูลและตำบลนางพญา โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 39 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่และร้อยละ วิธีการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนประกอบด้วย ระยะเวลาคืนทุนคิดลด (DBP) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C Ratio) และอัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ตำบลแม่พูลมีต้นทุนการจากการปลูกพืชเศรษฐกิจในสวนวนเกษตร (ทุเรียน ลองกอง ลางสาด และกาแฟ) ตลอดโครงการ 20 ปี สูงที่สุด เท่ากับ 227,118.64 บาทต่อไร่ 2) ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทน ทั้ง 3 ตำบล มีค่า DBP อยู่ระหว่าง 12 - 14 ปี NPV มีค่าเป็นบวก B/C Ratio มีค่ามากกว่า 1.0 และ IRR สูงกว่าอัตราเงินกู้ระยะยาว 7% และ 3) ผลการเปรียบเทียบต้นทุนจากการปลูกพืชเศรษฐกิจในสวนวนเกษตรกับต้นทุนเฉลี่ยของประเทศ พบว่า มีเพียงลองกองที่มีต้นทุนสูงกว่าต้นทุนเฉลี่ยของประเทศ
References
กรมทรัพยากรธรณี. (2551). การจำแนกเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ: บริษัท แอดวานซ วิชั่น เซอรวิส จํากัด.
เจษฎา มิ่งฉาย. (2560). การจัดการความรู้และพัฒนาชุดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการผลิตไม้ผลในระบบวนเกษตรอำเภอลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์. รายงานวิจัยสมบูรณ์ต่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
ชิชญาสุ์ ช่างเรียน. (2561). การประเมินผลตอบแทนทางสังคมการผลิตทุเรียนหลงลับแลในระบบวนเกษตรเปรียบเทียบระบบการผลิตเชิงเดี่ยว จังหวัดอุตรดิตถ์. รายงานวิจัยสมบูรณ์ต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2555). การจัดการการเงิน. กรุงเทพฯ: ยงพลเทรดดิ้ง.
ดวงมณี โกมารทัต. (2559). การบัญชีต้นทุน. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดำเนิน เชียงพันธ์, สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์. สัมภาษณ์. (18 ธันวาคม 2561)
ดำเนิน เชียงพันธ์, ปิยะ มูลดิษฐ และสมหวัง เอี่ยมงิ้วงาม, ตัวแทนเกษตรกรตำบลบ้านด่านนาขาม ตำบลแม่พูลและตำบลนางพญา จังหวัดอุตรดิตถ์. สัมภาษณ์. (18-20 ธันวาคม 2561)
พนินท์ นนทโคตร. (2563). ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของระบบวนเกษตรบนทิวเขาผีปันน้ำตะวันออกในเขต จ.อุตรดิตถ์ บนวิถีการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้. รายงานวิจัยสมบูรณ์ต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วนัสนันท์ งวดชัย, พงศธร ชัยสวัสดิ์, เกษม เปนาละวัด, วิวัฒน์วงศ์ บุญหนุน และกาญจน์เกล้าพลเคน. (2562). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกหอมแดงของเกษตรกรในอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการ, 13(3), 118 - 123.
สมจิตรติยา ศรีสุวรรณ, วุฒิพล หัวเมืองแก้ว, สมศักดิ์ สุขวงศ์ และโกมล แพรกทอง. (2556). การวิเคราะห์ทางการเงินของการทำวนเกษตรในระดับครัวเรือน ภายใต้เครือข่ายวนเกษตรภูพาน จังหวัดสกลนคร. วารสารวนศาสตร์, 31(3), 55 - 64.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุตรดิตถ์. (2563). จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการเพาะปลูกและให้ผลผลิตลางสาดและลองกอง ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วประเทศ. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://1th.me/16AnD. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2553.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง