การตลาดเชิงเนื้อหาของสินค้าแฟชันในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด-19

ผู้แต่ง

  • ณฐวัฒน์ คณารักสมบัติ

คำสำคัญ:

การตลาดเชิงเนื้อหา, สินค้าแฟชัน, ไวรัสโควิด-19

บทคัดย่อ

          การระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแฟชั่น เช่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ต้องปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ซึ่งลักษณะสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจแฟชั่นในยุคนี้ต่างมุ่งเน้นการปรับตัวด้านกลวิธีที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายและโปรโมทเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการทำการตลาดเชิงเนื้อหา (Content Marketing) ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งทางการตลาดที่จะสร้างแรงดึงดูดความสนใจ และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภค โดยจะไม่เน้นการขายแต่ให้ความสำคัญในเนื้อหาเป็นการสร้างเรื่องราวให้กับสินค้า (Storytelling) ให้ผู้บริโภคเกิดความประทับใจจนจดจำตราสินค้าได้ (Brand Awareness) และส่งผลต่อความจงรักภักดีในตราสินค้า (Brand Loyalty)

          จากการศึกษาแนวทางการทำการตลาดเชิงเนื้อหาจากแนวคิดของนักวิชาการและผลสำเร็จจากการปฏิบัติจริงของธุรกิจแฟชั่นหลากหลายแบรนด์ พบว่า แบรนด์ที่สร้างเนื้อหาได้มีคุณค่ามีความโดดเด่นไม่ซ้ำกับคู่แข่ง ตรงใจผู้บริโภคก็จะส่งผลให้ผู้บริโภครับรู้ เกิดความสนใจ ติดตาม และเกิดความผูกพันต่อแบรนด์โดยสื่อที่มีประสิทธิผลในยุคที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุดคือ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ที่เผยแพร่เนื้อหาและข่าวสารของแบรนด์ จนถึงเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าที่ยุคนี้ที่ผู้บริโภคไม่สามารถไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าเองได้ในบางช่วงเวลา เนื้อหา (Content) ที่ดีจะสามารถช่วยให้เข้าถึงผู้บริโภคจนก่อให้เกิดการตอบสนองที่มีอิทธิพลต่อการสร้างแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

References

จารุพัฒน์ จรุงโภคากร. (2561). ปัจจัยการสร้าง Content Marketing ที่มีอิทธิพลต่อความสนใจในแบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นในประชากร Gen M. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชาญชัย ชัยประสิทธิ์. (2564). เจาะพฤติกรรมผู้บริโภคไทยที่เปลี่ยนไปในยุคโควิด-19. [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://thestandard.co.th. ค้นหาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2564.

ธนาคาร เลิศสุดวิชัย. (2562). เลือกแพลตฟอร์ม ทำการตลาดออนไลน์ ควรจะเริ่มจากไหน และคำนึงถึงอะไรบ้าง. [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://digitalbreaktime.com ค้นหาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2564.

ธโนทัย มงคลศิลป์, (2562) สื่อสังคมออนไลน์กําลังเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมแฟชั่นได้อย่างไร. [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://so02.tci-thaijo.org. ค้นหาเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2564.

พีรจิต ถนอมทรัพย์. (2563). เมื่อ Covid-19 ทำให้วงการแฟชั่นต้องปรับตัวครั้งใหญ่. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://www.cea.or.th.

บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์. (2560). Digital revolution เทคโนโลยีปฏิวัติโลก ใน ดิจิทัล เอจ. ปีที่ 18 ฉบับที่ 218 (ก.พ. 2560): หน้า 49-53.

มติชนรายวัน. (2564). ‘หมู อาซาว่า’ ดึงปรัชญาการใช้ชีวิต พาธุรกิจก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19. ประจำวันที่ 27 พฤษภาคม 2564: หน้า 14.

มติชนรายวัน. (2564). พลิกวิกฤตสู้โควิด “แลนด์มี่” ไม่เคยหยุดคิด ไม่เคยหยุดสร้างสรรค์. ประจำวันที่ 27 พฤษภาคม 2564: หน้า 22.

นิพิฐพนธ์ รุ่งเรือง. (2563). โลกใบใหม่ของอุตสาหกรรมแฟชั่นหลังวิกฤติโควิด-19. [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://www.gqthailand.com/gq-hype/article. ค้นหาเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564.

นิตยสาร L’Officiel (2560). 5 วิดีโอแฟชั่นแคมเปญที่ควรติดตามใน ครุยส์ คอลเลกชั่น 2018. [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://lofficielthailand.com/2017/11/cruise18 สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564.

ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม. (2563). New Normal ที่มีต่อธุรกิจแฟชั่นภายหลังการแพร่ระบาดสิ้นสุด. [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://www.thaitextile.org. ค้นหาเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2564.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2564). สนค. เผยผลสำรวจซื้อออนไลน์ ม.ค.-มี.ค.64 ยอดพุ่ง 75,000 ล้านต่อเดือน เพิ่ม 45.05%. [ออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.tpso.moc.go.th/th/node/11098. ค้นหาเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2564.

อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์. (2563). การคาดการณ์แนวโน้มแฟชั่นและการออกแบบแฟชั่นในศตวรรษที่ 21 ใน ศิลปกรรมสาร. ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (2563): มกราคม - มิถุนายน 2563.

Gunelius, S. (2011). Content marketing for dummies. New York: Wiley.

Kotler, P., & Keller, K. (2009). Marketing management. Pearson Prentice Hall.

Cuillierier Audrey. (2016). Customer Engagement through Social Media. Thesis. European Business and Administration. Thesis. Helsinki Metropolia University of Applied Sciences. European Business and Administration. Retrieved 2521, 16 October

Denham-Smith, J., and Harvidsson, P. (2017). Content Marketing’s effect on customer engagement. Dissertation. Retrieved 2021, 16 October

Lamb, Hair and McDaniel. (1992). Principles of marketing. Cincinnati, Ohio: College Division, South-Western Pub. Co.

Moran, J.M.M. (2016). Outside-In Marketing: Using Big Data to Guide your Content Marketing. IBM Press.

Nuttawee Tantisajjatham. (2018). ก้าวต่อไปของการสร้าง Content Marketing ให้เกิดผลลัพธ์ในปี 2019. [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://stepstraining.com. ค้นหาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564.

Paul S. Busch and Michael J. Houston. (1985). Marketing: Strategic Foundations. Illinois, Richard D. Irwin.

Pulizzi, J., & Handley, A. (2004). B2C Content Marketing 2015 Benchmarks Budgets, and Trends Nort America. Content marketing institute.

PeerPower Team. (2563). แนวทางของธุรกิจแฟชั่นในโลกยุค COVID-19 [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://www.peerpower.co.th/blog/investor/. ค้นหาเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2564.

Solem Birgit.A. and Pedersen Per.E. (2016). The Role of Customer Brand Engagement in Social Media: Conceptualisation, Measurement, Antecedents and Outcomes in t. J. Internet Marketing and Advertising, 10(4)

Steps Academy. (2560). 14 เทคนิคการสร้าง Engagement บน Facebook เพื่อธุรกิจ ออนไลน์. [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://stepstraining.co/strategy. ค้นหาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564.

Yue Pan, David Roedl, Eli Blevis, and John C. Thomas. (2015). Fashion Thinking: Fashion Practices and Sustainable Interaction Design in International Journal of Design. Vol 9, No 1 (2015): p.53-66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-11-2021