การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความภักดีของกลุ่มแฟนคลับต่อสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • นเรศ บัวลวย 0864478868
  • ศุภกาญจน์ จำเริญรักษ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนบุคคล, การเปิดรับสารสนเทศ, ความภักดี, สโมสรฟุตบอล

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเปิดรับเนื้อหาสารสนเทศสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาครของกลุ่มแฟนคลับ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความภักดีของกลุ่มแฟนคลับต่อสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับกลุ่มแฟนคลับ จำนวน 400 คน

          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มแฟนคลับส่วนใหญ่มีการเปิดรับสารสนเทศของสโมสรฟุตบอลผ่านสื่อเฟซบุ๊ก, อินสตาแกรม และยูทูป สูงที่สุด, รองลงมา คือ แอพลิเคชั่นไลน์และเว็บไซต์ตามลำดับ ทั้งนี้การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความภักดี พบว่ากลุ่มแฟนคลับที่มีความแตกต่างกันในด้านเพศ อายุ การศึกษาและรายได้มีความภักดีที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนกลุ่มแฟนคลับที่มีความแตกต่างด้านอาชีพ ภูมิลำเนามีความภักดีที่แตกต่างกัน ด้านปัจจัยที่ทำให้กลุ่มแฟนคลับเกิดการติดตามและความภักดีต่อสโมสรฟุตบอล พบว่าปัจจัยด้านบรรยากาศในระหว่างการเชียร์ส่งผลต่อความภักดีมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านอื่น ๆ ปัจจัยด้านนักฟุตบอลของสโมสรตามลำดับ  

References

ณัฐณิชา ภูโคกสูง. (2547). การสื่อสารกับการรับรู้อัตลักษณ์ของแฟนคลับฟุตบอลต่างประเทศในสังคมไทย กรณีศึกษา: ลิเวอร์พูลไทยแลนด์แฟนคลับ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธาดาธิเบศร์ ภูทอง และนัทธมน มุ่งสูงเนิน. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการยอมรับบริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้สูงอายุ. วารสาร Verridian E-Journal: Silpakorn University, กันยายน - ธันวาคม 2560, หน้า 548 - 566.

วุฒิกร ตุลาพันธ์. (2559). ความภักดีในตราสินค้าและคุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรองเท้ากีฬาแบรนด์เกาหลี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สิทธิชัย วงศ์ทองคำ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรักและความภักดีต่อสโมสรฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก. วารสารสุทธิปริทัศน์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรกฎาคม – กันยายน 2560, หน้า 160 - 173.

สุภัสสร ศรีมนตรี และภิเษก ชัยนิรันดร์. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสาร MBA – KKU, กรกฎาคม - ธันวาคม 2558, หน้า 151 – 166.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-12-2021