ความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยวิธีพีเอสโออี

ผู้แต่ง

  • ตรีนุช เพชรแสนงาม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เดชา ศุภพิทยาภรณ์

คำสำคัญ:

การให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์, การสอนแบบพีเอสโออี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีพีเอสโออี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนลำปางกัลยาณี จังหวัดลำปาง 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการสอนแบบพีเอสโออี หน่วยการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน จำนวน 5 แผน (OIC > 0.67) และ 2) แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน ซึ่งข้อสอบเป็นแบบเลือกตอบแบบคำถาม 2 ชั้น จำนวน 20 ข้อ (0.2 < p < 0.8, r > 0.2, KR-20 = 0.88) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีพีเอสโออี ซึ่งมีขั้นในการสอน 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นพีหรือขั้นสร้างคำทำนาย 2) ขั้นเอสหรือขั้นแลกเปลี่ยนแนวคิด 3) ขั้นโอหรือขั้นสังเกต และ 4) ขั้นอีหรือขั้นอธิบาย มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ (paired t-test, p < 0.05) เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบที่จำเป็นในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ข้อสรุป หลักฐาน และการชี้แจงความสัมพันธ์ระหว่างข้อสรุปและหลักฐานแล้ว พบว่ามีนักเรียนเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่สามารถให้เหตุผลได้ครบถ้วนองค์ประกอบ และเมื่อแบ่งตามเนื้อหาที่ใช้สอนพบว่า นักเรียนสามารถให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องการถ่ายโอนความร้อนได้มากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนา มหาลี และชาตรี ฝ่ายคำตา. (2553). ความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 16(5), 795 - 809.

กฤตกร สภาสันติกุล. (2554). ผลของกลวิธีการสอนเคมีโดยใช้การทำนาย การสังเกต การอธิบาย อย่างมีขั้นตอนที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และความมีเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [ระบบออนไลน์], สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/ handle/123456789/51073.

จิรพรรณ คงเคารพธรรม. (2553). การพัฒนาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับ ประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงเรื่องเศษส่วนย่อย โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เมธิน อินทรประสิทธิ์. (2558). ผลของกลวิธีการสอนทำนาย-อภิปราย-อธิบาย-สังเกต-อภิปราย-อธิบายที่มีต่อความเข้าใจมโนทัศน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลือชา ลดาชาติ และลฎาภา สุทธกูล. (2555). การสำรวจและพัฒนาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 4(2),73-90.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ผลการประเมิน PISA 2012 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. [ระบบออนไลน์], สืบค้นจาก http://pisathailand. ipst.ac.th/, เข้าดูเมื่อวันที่ 2/03/2558.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). รายงานผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015 วิชาวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2551). เทคโนโลยีการศึกษา : หลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

Fosnot, C.T. (1996). Constructivism: Theory, Perspective and Practice. New York: Teacher College Press.

International Association for the Evaluational Achievement (IEA). (2015). TIMSS 2015 International Results in Science. USA: TIMSS & PIRLS International Study Center.

Peker, D., Wallace, C. S. (2011). Characterizing high school students’ written explanation in biology laboratories. Research in Science Education, 41(2),169-191.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-11-2021