การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะการเขียนภาษาจีน เรื่องชีวิตของฉันสำหรับนักเรียนโรงเรียนนานาชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • จื้อเฉียง หวง 0956785809
  • ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะการเขียนภาษาจีน, หลักสูตรเสริมสมรรถนะการเขียนภาษาจีน เรื่องชีวิตของฉัน, สมรรถนะการเขียนภาษาจีน, นักเรียนโรงเรียนนานาชาติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะการเขียนภาษาจีน เรื่องชีวิตของฉัน สำหรับนักเรียนโรงเรียนนานาชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) ศึกษาผลการ ใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนโรงเรียนนานาชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนานาชาติแครนเบอร์รี่ จังหวัดลำปาง จำนวน 6 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 – 2564 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ หลักสูตรเสริมสมรรถนะการเขียนภาษาจีนเรื่องชีวิตของฉัน หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบอัตนัยประจำหน่วย 5 หน่วย และชิ้นสรุปก่อนและหลังเรียน กำหนดให้เขียนเรื่อง คะแนนเต็ม 20 คะแนน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรเสริมสมรรถนะ การเขียนภาษาจีน เรื่องชีวิตของฉันมี 5 หน่วยการเรียนรู้ คือ 1. ร่างกายของฉัน 2. ครอบครัวของฉัน 3. โรงเรียนของฉัน 4. อาหารที่ฉันชอบ และ 5. ในหนึ่งวันของฉัน หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (= 4.50, S.D. = 0.64) หน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 4.21, S.D. = 0.80) ผลการใช้หลักสูตร คือ นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (= 16.50, S.D. =1.38), (= 12.17, S.D. = 2.14) ตามลำดับ และด้านสมรรถนะการเขียนภาษาจีนเรื่องชีวิตของฉันอยู่ในคุณภาพดีมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 65.50

References

จาง เยี่ยนเฟิง (Zhang Yanfeng). (2557). 简谈如何提升小学生写. โรงเรียนประถมและมัธยม ในเมืองเว่ยเหมี่ยว มณฑลเป่ย มณฑลเจียงซู. [ออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.cnki.net.

โจว เจี้ยน (Zhou Jian). (2552). 汉字教学理论与方法.北京:北京大学出版社.

ชู ชุ่ยหลิง (Shu Cuiling). (2564). 广西民族师范学院.

ไช่ ยู่ฉิน (Cai Yuqin). (2552). 识字教学方法及改革.学术论文.人民教育出版社小学语文编辑室.

นพาวรรณ์ ใจสุข. (2556). การพัฒนาทักษะการจดจำคำศัพท์ภาษาจีน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2. วิจัยในชั้นเรียน. วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์.

พิมล ทองวิจารณ์. (2548). ชุดการสอนภาษาจีนเพื่อการสื่อสารระดับพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา. อัดสำเนา.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ้นท์.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2554). คู่มือการอบรมและปฐมนิเทศครูคุรุทายาทสอนภาษาจีนและครูทุนคุรุทายาทที่สำเร็จการอบรมจากประเทศจีน. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานผลการวิจัยและพัฒนา กรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.

หาน เจี้ยนถัง (Han Jiantang). (2547). 汉字文化图说.北京:北京文化语言大学出版.

เหมิง ชิว (Meng Qiu). (2555). การพัฒนาชุดการสอนภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ที่เริ่มต้นเรียนภาษาจีนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cui, Y.H. (1997). The major of teaching Chinese to foreigners in summary. Spring Volume of Chinese Cultural Studies. [In Chinese]

Han Ban. (2012). Confucius Institute Headquarters (Han ban). Retrieved from http//www.hanban.edu.cn/. [In Chinese]

Li, K.Y. (2010). More than 40 million people of the world learning Chinese. Retrieved from http://news.xinhuanet.com/2010-08/19/c-13452457.htm. [In Chinese]

Wang, L.J. (2003). From teaching Chinese to foreigners for International education in Chinese: Global trends in teaching and learning Chinese language. Chinese Teaching in the World. [In Chinese]

Wang, L.J. (2003). 10 ภาษาที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก (World's Top Languages). [เว็บบล็อก]. แหล่งที่มา http://th.interscholarship.com/tonsung/1440.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2021