สมรรถนะนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการในยุคดิจิทัล
คำสำคัญ:
สมรรถนะนักบัญชี, สถานประกอบการ, ยุคดิจิทัลบทคัดย่อ
บทความนี้ได้นำเสนอสาระที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมรรถนะนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการในยุคดิจิทัล เพื่อเป็นแนวทางให้นักบัญชีได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการประกอบวิชาชีพของตนให้มีประสิทธิภาพและมีความเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลมีส่วนสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมไทยและสังคมโลก รวมทั้งองค์กร หน่วยงาน และการประกอบอาชีพต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นได้จากหลายอาชีพในปัจจุบันต่างโดนแทรกแซงด้วยดิจิทัล (Digital Disruption) โดยเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ถือได้ว่าดิจิทัลได้เข้ามากระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ เช่น ทักษะการใช้เทคโนโลยี ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น การคิดวิเคราะห์ การติดตามข้อมูลข่าวสาร เพื่อจะได้นำสิ่งดังกล่าวมาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้มีความเจริญก้าวหน้า สำหรับแนวทางในการพัฒนาวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีควรจะต้องพัฒนาสมรรถนะตนเองในหลายด้านด้วยกัน ทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะต่าง ๆ คุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพให้ได้มาตรฐานตามที่วิชาชีพกำหนดไว้ รวมทั้งสนองตอบความต้องการของสถานประกอบการในยุคดิจิทัล โดยพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะที่สำคัญ เรียกว่า “4 รู้” คือ 1) รู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป 2) รู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ 3) รู้เรื่องกฎหมายและจรรยาบรรณในวิชาชีพ 4) รู้ที่จะปรับตัว พัฒนาตนเองด้านทักษะและสมรรถนะต่าง ๆ นอกจากนี้นักบัญชียังจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของตนให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล รวมทั้งติดตามข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถเป็นนักบัญชีรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัลที่มีคุณภาพ สำหรับแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะนักบัญชียุคดิจิทัลสามารถใช้หลัก 3 ก. ได้แก่ การพัฒนาด้านวิชาการ การพัฒนาด้านวิชาชีพ การพัฒนาความสามารถและทักษะต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับยุคดิจิทัล บริบทของสังคมไทยและสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
References
จุไรรัตน์ ศรีสัตตรัตน์. (2560). ปัจจัยเชิงสาเหตุของนักบัญชีที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านบัญชีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เขตภาคกลาง. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, พฤษภาคม – สิงหาคม 2560, หน้า 34-35.
เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการ เรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประสัณห์ เชื้อพานิช. (2560). รายงานสภาวิชาชีพบัญชีประจำปี 2560. กรุงเทพฯ : สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์.
ปิยพงศ์ ประไพศรี และกาญจนา นันทพันธ์. (2563). แนวทางการพัฒนาวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, ธันวาคม 2563, หน้า 10 - 11.
พัทธนันท์ เพชรเชิดชู. (2564). ต้องรู้อะไรก่อนที่จะบอกว่าคุณเป็น “นักบัญชียุคดิจิทัล. [ระบบออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://ciba.dpu.ac.th. html. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2564.
วสินี รุ่งเรือง. (2562). การประเมินสมรรถนะผู้เรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช 2556 สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก ระบบทวิภาคี ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ 360 องศา. ปริญญาโท หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อาภรณ์ ภู่วิทยาพันธุ์. (2560). Competency DICTIONARY. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
Boyatzis. (2009). Boyatzis, R.E. The Competence manager: A model for effective performance. New.York: Wiley.
McClelland, D.C. (1973). “Test for Competence, rather than intelligence.” American Psychologists. p, 57-83.
Spencer, L. M., & Spencer, S. M. (1993). Competence at Work: Model for Superior Performance. New York: Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง