ผู้สูงวัยกับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • เบญริสา ตันเจริญ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล, ผู้สูงวัย, สื่อดิจิทัล

บทคัดย่อ

          ปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากในศตวรรษที่ 21 ในยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วประกอบกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบในปี 2565 ขณะนี้ การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจึงเป็น การรับมือกับข้อมูลข่าวเกี่ยวกับสุขภาพที่ปริมาณมาก จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนตระหนักให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงวัยกับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เพื่อไม่ป้องกันไม่ให้ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อหรือคล้อยตามไปกับข้อมูลต่าง ๆ ในสื่อดิจิทัล เนื่องจากสื่อดิจิทัลมีผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิตเนื้อหา และการหลั่งไหลของเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลต่อผู้สูงอายุและสังคมในทุกรูปแบบด้วยวิธีที่ละเอียดอ่อนและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ระดับความรู้ด้านสื่อในปัจจุบันทำให้สามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่างกับสื่อได้ สามารถควบคุม และใช้ประโยชน์จากการเปิดเผยตัวตนผ่านสื่อได้มากขึ้น เพิ่มพูนความรู้ในด้านอื่น ๆ หากได้ตระหนักถึงการทำงานของสื่อมวลชนและผลกระทบ จะสามารถควบคุมผลกระทบเหล่านั้นได้มากขึ้น

          การตระหนักถึงความสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลเกี่ยวกับสุขภาพ ผลกระทบที่เกิดจากการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ผู้สูงวัยต้องป้องกันตนเองจากการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพ โดยการรู้เท่าทันสื่ออย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีมุมมองของบุคคลที่สร้างจากองค์ประกอบ 3 ส่วน ซึ่งประกอบไปด้วย ความรู้ การใช้เครื่องมือ และความตั้งใจในการเปิดรับสื่อและแปลความหมายสารในสื่อที่บุคคลเปิดรับและอื่น ๆ เป็นต้น

References

ญาณี รัชต์บริรักษ์. (2565, 19 มกราคม). เปลี่ยน ‘สูงวัย’ เท่าทันสื่อดิจิทัล ไม่หลง ‘Fake News’ ยุคโควิด. https://www.bangkokbiznews.com/social/958666.

พนม คลี่ฉายา. (2564). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุและข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังและผลิตภาพของผู้สูงอายุไทย. Journal of Communication Arts. 39(2), 56-76. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcomm/article/view/247470.

พีรพล อนุตรโสตถิ์. (2565, 22 มกราคม). FACT CHECKING ผู้ทำงานตรวจสอบข้อมูลให้ชัวร์ ก่อนจะกดปุ่มแชร์. https://adaybulletin.com/talk-conversation-peerapon-anutarasoat-sure-and-share/61791.

มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. (2559). พฤติกรรมและการตัดสินใจบริโภคอาหารของประชาชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2564, 26 มิถุนายน). เวทีเสวนา เฟคนิวส์กับผู้สูงอายุรู้เท่าทันสื่ออย่างปลอดภัย เห็นพ้อง พบปัญหาผู้สูงวัยไม่ตรวจสอบข้อมูลก่อนแชร์. https://thaitgri.org/.

ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ และญาศิณี เคารพธรรม. (2560). สื่อกับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. 11(2), 367-387. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/174491/124930.

สุพรรณี พฤกษา และสุวรีย์ ศรีปูณะ. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงวัยที่มีสุขภาพดีในหมู่บ้านวัฒนธรรมนาอ้อ ตำบลนาอ้อ จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 12(42), 57-67. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/99328/91579.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565, 23 มกราคม). รู้เท่าทันโฆษณา อาหาร-ยาต้านโควิด. https://www.thaihealth.or.th/Content/550264.

สำนักบริหารการทะเบียน. (2565). โครงสร้างข้อมูลสถิติจำนวนประชากรแยกรายอายุ. https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByAge.php.

อธิชา วุฒิรังสี. (2559). การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของผู้สูงอายุ. วารสารสหศาสตร์. 16(1), 90-106. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/244781/.

Berkowsky RW, Czaja SJ. (2018). Challenges associated with online health information seeking among older adults. In: Pak R, McLaughlin AC, editors. Aging, technology and health. Amsterdam: Elsevier.

Coleman EA. (2003) Falling through the cracks: challenges and opportunities for improving transitional care for persons with continuous complex care needs. J Am Geriatr Soc. 51(4), 549–55.

Creber RMM, Reading M, Hiraldo G, Iribarren SJ. (2016). Review and analysis of existing mobile phone applications to support symptom monitoring and self-management for adults with heart failure. J Card Fail. 22(8), S81.

Potter, W. J. (2019). Media Literacy. London: Sage Publications.

Potter, W. J. (2021). Media Literacy Tenth Edition. University of California.

Richtering SS, Hyun K, Neubeck L, Coorey G, Chalmers J, Usherwood T, Peiris D, Chow CK, Redfern J. (2017). eHealth literacy: predictors in a population with moderate-to-high cardiovascular risk. JMIR Hum Factors. 4(1): e6217.

World Health Organization. (2020). WHO releases first guideline on digital health interventions. Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022