การพัฒนาการเรียนรู้ศิลปะผ้ามัดย้อม โดยใช้ศิลปะเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • อิสริยาภรณ์ ชัยกุหลาบ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย
  • ไทยโรจน์ พวงมณี
  • มินตรา หาที

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การเรียนรู้ศิลปะ, ความคิดสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาการเรียนรู้ศิลปะผ้ามัดย้อมโดยใช้ศิลปะเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาผลของการเรียนรู้ศิลปะผ้ามัดย้อมโดยใช้ศิลปะเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ปราชญ์ชุมชน 3 คน ครูผู้สอนศิลปะโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเลย 5 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนาอ้อ จังหวัดเลย 35 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์มุ่งเน้นการตีความ (Interpret) เพื่อสร้างแนวคิดการเรียนรู้ ข้อมูลที่ได้จากแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนแล้วนํามาวิเคราะห์ วิจารณ์เชิงเนื้อหา เกี่ยวกับสภาพที่เกิดขึ้น และเสนอผลที่ได้ในรูปแบบความเรียง เพื่อการสรุปผล

          ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการเรียนรู้ศิลปะผ้ามัดย้อมโดยใช้ศิลปะเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) กรอบแนวคิดและหลักการ 2) วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ 3) ข้อกำหนด 4) การจัดกิจกรรม 5) การเตรียมการสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6) องค์ประกอบในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะผ้ามัดย้อมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 7) บทบาทผู้สอนและบทบาทผู้เรียน

          ผลของการเรียนรู้ศิลปะผ้ามัดย้อมโดยใช้ศิลปะเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า คะแนนความคิดสร้างสรรค์ทั้ง 4 ด้าน ของผู้เรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). ความคิดเชิงสร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัท ซัคเซส มีเดียจำกัด.

คณิน ไพรวันรัตน์. (2562). การศึกษาเทคนิคการทำลวดลายผ้ามัดย้อมเพื่อสร้างอุปกรณ์สร้างลวดลายใหม่ของผ้ามัดย้อม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 11(2), 1.

สมชาย พรหมสุวรรณ. (2560). ความคิดสร้างสรรค์ : การสอนศิลปะสำหรับเด็ก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 11(1), 107 -108.

อรทัย ชัยแปง และชไมมน ศรีสุรักษ์. (2564). การใช้กิจกรรมประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 10(1), 173-174.

Gleser, Virginia. (1999). Tie-Dye: the how-to book. Summertown: Book Publishing Company. Orapan Aumpantong. Interviewee 23 September 2017.

Hu, Y. (2015). The Creation Manifestation of Tie-dyeing Craft in Modern Fashion Design. Paper presented at the International Conference on Electronics, Mechanics, Culture and Medicine.

Guilflord, J.P. and Raph. (1950). The Analysis of Intelligence. New York: McGraw-Hill.

Guilflord, J.P. and Raph. (1959). Personnality. New York: Mcgran Hill Book Company.

Mason, P. (1960). The Knowledge-Creativity. New York: Cambridge.

Torrance, E.P. (1964). Education and the creative potential. Minneapolis: The Lund Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022