การพัฒนาอัตลักษณ์ของสิงห์ขาวเพื่อการปรับตัวในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร เจริญผล -

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์สิงห์ขาว, การปรับตัวในยุคดิจิทัล, สิงห์ขาว

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ของสิงห์ขาว และการสื่อสารหล่อหลอมอัตลักษณ์สู่สิงห์ขาว 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์สิงห์ขาวเพื่อการปรับตัวในยุคดิจิทัล การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก 20 คน ได้แก่ อดีตอาจารย์ อาจารย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันของคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ หาวิทยาลัยเชียงใหม่ และการสนทนากลุ่ม 5 คน ได้แก่ รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดีคณะรัฐศาสตร์ฯ นายกสมาคมรัฐศาสตร์ฯ ผู้แทนมูลนิธิรัฐศาสตร์ฯ และนายกสโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ฯ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์มุ่งเน้นการตีความ การค้นพบ โดยอธิบายความหมาย และปรากฏการณ์จริงที่พบเห็น

          ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ของสิงห์ขาวเชิงสัญลักษณ์ คือ เครื่องหมายสิงห์ขาว อัตลักษณ์แห่งจิตวิญญานของสิงห์ขาว คือ สิงห์ภูธร ที่นิยามว่าสิงห์ภูธรทำงาน และเติบโตในภูมิภาคเป็นส่วนใหญ่ การสื่อสารหล่อหลอมอัตลักษณ์สู่สิงห์ขาวมี 2 ช่องทาง คือ ผ่านภาษิต และผ่านกิจกรรม ส่วนการพัฒนาอัตลักษณ์ของสิงห์ขาวเพื่อการอยู่รอดในยุคดิจิทัล คือ การสร้างความแข็งแกร่งให้กับอัตลักษณ์ด้วยผู้ที่เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแนวคิดการหล่อหลอมอัตลักษณ์จากแนวคิดการมีส่วนร่วมเป็นแนวคิดความร่วมมือ การนิยามความหมายของสิงห์ภูธรใหม่ให้ทำงานหลาหลายสถานที่ และปรับบทบาทใหม่ของสิงห์ขาวให้เด่นด้านประชาสังคม นอกจากนี้สิงห์ขาวควรมีทักษะในการคิด ทักษะในการแข่งขัน แข่งขันกับตัวเอง แข่งขันกับเป้าหมาย และมุ่งสร้างสิ่งที่เป็นความจำเป็นของสังคม

References

จุฑาพรรธ์ ผดุงชีวิต. (2550). วัฒนธรรมการสื่อสารและอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาย โพธิสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

โชติ บดีรัฐ. (2561). วิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2559). Digital Marketing. นนทบุรี: ไอดีซีพรีเมียร์.

ภัทราพร เกษสังข์. (2559). การวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รวีวรรณ แพทย์สมาน. (2548). โครงการจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (คณะในกำกับ). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ลั่นทม จอนจวบทรง. (2561). การวิจัยทางระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลิวอิส เอ. โคเซอร์. (2535). แนวความคิดทฤษฎ๊ทางสังคมวิทยาตอนชาร์ลส์ ฮอร็ตัน คูลี่ย์และ ยอร์จ เฮอร์เบิร์ต มี้ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศาสตรพันธุ์. (ม.ป.ป.). สัญลักษณ์. กรุงเทพมหานคร: ประวิทย์ สัมมนาวงศ์.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2545). ทฤษฎีสังคมวิทยาเนื้อหาและแนวการใช้ประโยชน์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนิล คุปตะ. (2562). เปลี่ยนให้โต GO ให้สุดด้วยกลยุทธ์ดิจิทัล. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์.

สุมิตรา ศรีวิบูลย์. (2547). การออกแบบอัตลักษณ์. กรุงเทพมหานคร: เลิฟแอนด์ลิฟเพรส.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอซิโอ มานซินี่. (2562). การเมืองแห่งชีวิตประจำวัน. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

Whetten, David A., and Paul C. Godfrey. (1998). Identity in Organization. London: SAGE.

Van Reil, C.B. and J.M. Balmer. (1997). Corporate Identity. European Journal of Marketing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022