การสร้างคอนเทนต์บนภูมิทัศน์สื่อใหม่ในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • ทิพย์ภาศิริ แก้วเทศ -

คำสำคัญ:

การสร้างคอนเทนต์, ภูมิทัศน์สื่อใหม่, ยุคดิจทัล

บทคัดย่อ

          ภูมิทัศน์สื่อใหม่ในยุคดิจิทัลเป็นปรากฎการณ์ของการหลอมรวมสื่อเกิดเป็นสื่อใหม่ที่มีการเชื่อมโยงระหว่างอินเทอร์เน็ตกับโทรศัพท์มือถืออัจฉริยะ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ด้วยการใช้งานบนแอปพลิเคชันต่าง ๆ โดยผู้ใช้สื่อใหม่เป็นผู้เลือกจัดผังในการรับชมข้อมูลข่าวสาร และความบันเทิงที่สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละบุคคล ผู้ใช้สื่อใหม่สามารถเป็นได้ทั้งผู้รับสารและผู้ผลิตเนื้อหาสาระในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังมีการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ใช้สื่อใหม่เข้ามาสร้างสรรค์เนื้อหา การสร้างธุรกิจในสินค้าและบริการให้มีการบริโภคที่สูง การสร้างตัวตน การสร้างรายการเพื่อสร้างกระแสในอัตราการรับชมและอัตราการติดตามที่สูงสู่การสร้างรายได้ ดังนั้นจึงเป็นแรงสนับสนุนให้สื่อหลัก ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ละคร ภาพยนตร์ และโฆษณาในทุกแขนงมีการบูรณาการประยุกต์ใช้สื่อใหม่สร้างแฟลตฟอร์มสตรีมมิ่ง เฟซบุ๊กแฟนเพจ ช่องยูทูปเป็นเส้นทางคู่ขนานกับสื่อโทรทัศน์ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการรับชมบนภูมิทัศน์สื่อใหม่ของพลเมืองดิจิทัล

References

ณัฐกานต์ แก้วขำ และยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2564). บทบาทของอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ในภูมิทัศน์ของสื่อใหม่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล. วารสารนิเทศศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 39(1), หน้า 107-120.

บูรณ์เมตต์ วิวัฒนานุกูล. (2564). ทำความรู้จัก B2C e-Commerce:รูปแบบธุรกิจ รูปแบบการชำระเงินและวิธีการติดตามภาวะตลาด. วารสาร Stat-Horizon, มีนาคม 2564, หน้า 2-3.

พงษ์สิน พรหมพิทักษ์. (2561). วิทยุโทรไทยในยุคดิจิทัล. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 4(2), หน้า 52-57.

พัทธ์พสุตม์ สาธุนุวัฒน์. (2562). พลังสื่อมวลชนในสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(2), หน้า 191-200.

มานะ ตรีรยาภิวัฒน์. (2564). บทบาทและหน้าที่สื่อในยุค Digital Disruption และ COVID Disruption. Media Disruption The Series. กรุงเทพ: องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. หน้า 88-94.

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2560). “Content is King” กับการเพิ่มคุณค่าให้กับเนื้อหารายการในโทรทัศน์ดิจิทัล, วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), หน้า 246-253.

สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2562). รายงานผลการศึกษาโครงการสำรวจพฤติกรรมและแนวโน้มการบริโภคสื่อของไทย. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิขเรศ ศิรากานต์. (2564). Media Landscape 2 ทศวรรษ (2000-2020) วิถีทรรศน์ “ภูมิทัศน์สื่อ” ก้าวสู่ทศวรรษใหม่. Media Disruption The Series. กรุงเทพ: องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. หน้า 36-64.

พิมรี่พายขายทุกอย่าง. (2565, 7 สิงหาคม). น้ำหอมสกินแคร์รวมบิลกับเมื่อเช้า. https://web.facebook.com/profile. php?id=10006442322638 สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2565 และhttps://www.youtube.com/watch?v=uernx91iPWI สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2565.

DATAREPORT. (2564). Digital 2021 Thailand. https://datareportal.com/reports/digital-2021-thailand สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม2565.

NANAKE555. (2565, 6 กุมภาพันธ์). วันนี้น้าเน็กจะเก็บทรงอยู่หรือเปล่า มาดู!! EP.9 โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม. [Live Streaming]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=-nG_TagJQp4 สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2565.

STEP ACADEMY. (2564). 17 ไอเดียการสร้างวีดีโอคอนเทนต์โดนใจลูกค้า. https://stepstraining.co/content/17-video-contents-ideas-for-business-online สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565.

TrueVisionsOfficial. (2563, 22 พฤษภาคม). คอนเสิร์ตออนไลน์! การปรับตัวยุคโควิด-19 ของวงการเพลงไทย. [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=gp1BhEypDUg สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022