การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาแคลคูลัส 2 เรื่องเทคนิคอินทิเกรตโดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ โดยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD
คำสำคัญ:
เทคนิคอินทิเกรตโดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติ, การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาแคลคูลัส 2 เรื่องเทคนิคอินทิเกรตโดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ก่อนและหลังเรียน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากนักศึกษา 20 คนแรกที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาแคลคูลัส 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง เทคนิคอินทิเกรตโดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติ รายวิชาแคลคูลัส 2 จำนวน 1 คาบ คาบเรียนละ 3 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอินทิเกรตโดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติ เป็นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน เรื่องเทคนิคอินทิเกรตโดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีค่าเฉลี่ยของคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
References
แก้วมะณี เลิศสนธิ์. (2557). การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
จรัส พิเลิศ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้สื่อ อิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พชรพงศ์ นวลศิริ. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD) ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ยุวดี ทองแผ่น. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับการเรียนรู้แบบปกติ โรงเรียนบ้านปากน้ำปราณ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุนารี นวลจันทร์. (2562). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และความสามารถในการทำงานกลุ่ม เรื่อง ระบบจำนวนจริง โดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและ การสอน, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Johnson, R.T. & Johnson, D.W. (1994). An overview of cooperative learning. In J. S. Thousand, R.A. Villa & A.I. Nevin (Eds.), Creativity and collaborative learning (pp. 31-34). Baltimore, Maryland: Paul H. Brookes Publishing Co.
Slavin, R.E. (1995). Cooperative Learning: Theory, Research and Practice (2nd ed.). New Jersey: Prentice – Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง