วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องมหาเวสสันดรชาดกของไทยและลาว : การศึกษาเปรียบเทียบความขัดแย้ง และการแก้ไขปัญหาตามหลักอริยสัจสี่

ผู้แต่ง

  • พระมหาสุบรรณ อ่ำกร่าง -

คำสำคัญ:

มหาเวสสันดรชาดก, ความขัดแย้ง, การแก้ไขปัญหา, อริยสัจสี่

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบที่มาความขัดแย้งและการแก้ไขปัญหา ตามหลักอริยสัจสี่ที่ปรากฏในมหาเวสสันดรชาดกของไทยและลาว โดยผู้วิจัยได้ดำเนินงานตามหลักอริยสัจสี่ ได้แก่ ขั้นทุกข์, ขั้นสมุทัย, ขั้นนิโรธ และขั้นมรรค เริ่มจากการศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมของตัวละครในมหาเวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์ แล้วสรุปที่มาของความขัดแย้งของตัวละครตาม 5 กรอบแนวคิดหลัก คือ ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์, ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสังคม, ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ, ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับอำนาจเหนือธรรมชาติ และความขัดแย้งที่เกิดภายในใจของตัวละคร ในส่วนของการแก้ไขปัญหาได้ยึดหลักตามอริยมรรค 8 ประการ คือ สัมมาทิฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

          ผลการวิจัยพบว่า มหาเวสสันดรชาดกทั้งของไทยและลาว พบความขัดแย้งที่เหมือนกันทั้งหมด 12 กัณฑ์ และไม่พบความขัดแย้งใด ๆ 1 กัณฑ์ จำแนกได้เป็น ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ กับมนุษย์ พบมากที่สุด 6 กัณฑ์ รองลงมาคือความขัดแย้งที่เกิดภายในใจของตัวละคร 3 กัณฑ์, ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับอำนาจเหนือธรรมชาติ 2 กัณฑ์ และความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสังคม 1 กัณฑ์ ตามลำดับ

          ส่วนประเด็นที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว ปรากฏว่าตัวละครในมหาเวสสันดรชาดกทั้งของไทยและลาว มีวิธีการแก้ไขปัญหาคือ การแก้ไขปัญหาด้วยหลักสัมมาวาจา พบมากที่สุด 5 กัณฑ์ รองลงมาเป็นการแก้ไขปัญหาด้วยหลักสัมมากัมมันตะ 4 กัณฑ์ และการแก้ไขปัญหาด้วยหลักสัมมาสังกัปปะ, การแก้ไขปัญหาด้วยหลักสัมมาวายามะ และการแก้ไขปัญหาด้วยหลักสัมมาสมาธิ อย่างละ 1 กัณฑ์

References

กุหลาบ มัลลิกะมาศ. (2562). ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 11 . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ดวงมน จิตร์จํานงค์. (2563). คุณค่าและลักษณะเด่นของวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ. 2325-2394 , พิมพ์ครั้งที่ 6. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาษาไทย). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประทุม แป้นสุวรรณ. (2562). จิตวิทยาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพ ฯ : โอเดียนสโตร์.

พระครูวิวิธธรรมโกศล (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน), และอรชา เผือกสุวรรณ. (บก.). (2564). หนังสือเทศน์มหาชาติ มหากุศลเฉลิมพระเกียรติ ฯ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ ฯ : คอมฟอร์ม.

พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารีเถระ). (2528). ปริทรรศน์ เวสสันดรชาดก. กรุงเทพ ฯ อมรินทร์การพิมพ์.

พระราชวิจิตรปฏิภาณ (สุนทร ญาณสุนฺทโร). (2550). มหาเวสสันดรชาดก ฉบับตำนานศาสนา ตำราดำเนินชีวิต ตำรานักพูด-นักคิด คัมภีร์วิจิตรของนักเทศน์-นักแหล่. กรุงเทพ ฯ : ธรรมสภา.

พัชรี แซ่สุ้น. (2560). ตำนานท้องถิ่น 4 ภาค : การวิเคราะห์ความขัดแย้งและการแก้ไขปัญหา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2563). นิทานชาดก ฉบับเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพ ฯ : สถาพรบุ๊คส์.

วัฒนะ บุญจับ, และอรชา เผือกสุวรรณ (บก.). (2564). หนังสือเทศน์มหาชาติมหากุศลเฉลิมพระเกียรติฯ. พิมพ์ครั้งที่ 35. กรุงเทพ ฯ : คอมฟอร์ม.

สนม ครุฑเมือง. (2563). นิทานท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนล่าง : การวิเคราะห์ความขัดแย้งและการแก้ไขปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก : สองแควการพิมพ์.

สิลา วีระวงส์, มหา. (2559). เวสสันดรชาดก. พิมพ์ครั้งที่ 2. เวียงจันทน์ : ดอกเกด.

สืบพงศ์ ธรรมชาติ. (2562). วรรณคดีชาดก. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ ฯ : โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022