หมากในวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์หลีที่เกาะไหหลำของประเทศจีน
คำสำคัญ:
หมาก, วัฒนธรรม, กลุ่มชาติพันธุ์หลี, เกาะไหหลำบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “หมากในวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์หลีที่เกาะไหหลำของประเทศจีน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของหมากในชีวิตประจำวัน หมากในพิธีกรรม และสัญลักษณ์ของหมากในวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์หลีที่เกาะไหหลำของประเทศจีน โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนาม และนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาประเด็นหมากในชีวิตประจำวันของกลุ่มชาติพันธุ์หลีทำให้ทราบว่า นอกจากชาวหลีจะใช้หมากในการต้อนรับแขก ใช้หมากในการขอขมาลาโทษผู้ที่ล่วงเกิน และใช้หมากในการแจ้งข่าวทั้งที่เป็นข่าวมงคลและข่าวอวมงคลแล้ว ยังได้ใช้หมากเพื่อทำความสะอาดฟันหรือสีฟันด้วย ส่วนผลการศึกษาประเด็นหมากในพิธีกรรมของชาวหลีทำให้ทราบว่า หมากเป็นส่วนประกอบที่ขาดหายไม่ได้ในพิธีแต่งงาน พิธีสะเดาะเคราะห์ และในพิธีเซ่นไหว้สิ่งเหนือธรรมชาติ ได้แก่ การเซ่นไหว้เทวดา การเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ และการเซ่นไหว้ผีเร่ร่อนที่มารอขอส่วนแบ่งอยู่รอบ ๆ บ้าน ขณะที่ผลการศึกษาสัญลักษณ์ของหมากในวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์หลีที่เกาะไหหลำปรากฏว่า หมากเป็นสัญลักษณ์แห่งความซื่อตรง เป็นสัญลักษณ์แทนความรัก เป็นสัญลักษณ์ของการตกลงร่วมกันระหว่างสองฝ่าย ตลอดจนเป็นสัญลักษณ์แทนความเคารพนับถือที่ชาวหลีมีต่อผู้อาวุโส
References
จิรวรรณ ตั้งจิตเมธี. (2539). บทบาทของหมากในสังคมไทย: ศึกษากรณีหมู่บ้านโคก ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จีรวรรณ ศรีหนูสุด และวนิษา ติคํา. (2561). วัฒนธรรมหมากและการจัดการหมากของตำบล บางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. Journal of Humanities and Social Sciences, 10(2), 317-352.
ผจนก กาญจนจันทร. (2563). เชี่ยนหมาก ปากแดง. พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 4(4), 118-137.
พระยาอนุมานราชธน. (2484). กินหมากและมีเรือน. กรมโฆษณาการ.
อำมร พันธนียะ. (2544). วัฒนธรรมการใช้หมากของชาวบ้านในคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Fu, Guang hua. (2551). วัฒนธรรมหมากของกลุ่มชาติพันธุ์หลี (黎族槟榔文化述论). Journal of Nanning Polytechnic, 13(6), 1-5.
Nguyen, Thi Phuong Tram. (2553). ประเพณีการกินหมากและความหมายของการกินหมากในเวียดนาม: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธ์เกอและกลุ่มชาติพันเย่ว (越南槟榔食俗及其意义阐释—以越族和戈族为例). วิทยานิพนธ์วารศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยชนชาติกลาง ประเทศจีน (中央民族大学).
Tang, Qi Cui & An, Hua Tao. (2555). นิเวศวิทยาพิธีกรรมและสัญลักษณ์จากมุมมองทั่วไปของวัฒนธรรมของเพลงหมาก. (生态、仪式与象征符号——黎族槟榔歌谣的文化通观), Social Scientist, 181(5), 141-146.
Xing, Zhi Chao & Zhan, Xian Wu. (2552). Areca Culture and Human Values Gaoshan Minority and Li Minority. (高山族和黎族的槟榔文化及人文价值), Journal of Guangdong Polytechnic Normal University, 29(3), 12-15.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง