ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประสบปัญหาทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในเขตพื้นที่สหกรณ์ที่ 7

ผู้แต่ง

  • ณิภาวรรณ ชุ่มวงค์
  • ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์ Maejo University

คำสำคัญ:

ปัญหาทางการเงิน, อัตราส่วนทางการเงิน, สหกรณ์ออมทรัพย์, สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน, การพยากรณ์, แบบจำลอง Altman’s Z-score

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความแม่นยำของแบบจำลอง Altman’s (1983)
Z-score กับกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อ
การประสบปัญหาทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน โดยทดสอบอัตราส่วนทางการเงินตามแบบจำลอง Altman’s (1983) Z-score ได้แก่ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน
ต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนกำไรสะสมต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี
ต่อสินทรัพย์รวม และอัตราส่วนมูลค่าตลาดของส่วนของผู้ถือหุ้นต่อมูลค่าตามบัญชีของหนี้สินรวม ระหว่างปี พ.ศ.2562 - 2565 จำนวน 705 ตัวอย่าง โดยเก็บข้อมูลจากงบการเงิน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และการทดสอบ Independent t-test เพื่อวิเคราะห์ถึงแตกต่างของอัตราส่วนทางการเงิน 4 อัตราส่วน พบว่า แบบจำลอง Altman’s (1983) Z-score สามารถพยากรณ์สหกรณ์ฯ ที่ประสบปัญหาทางการเงิน โดยได้ค่าความถูกต้องเฉลี่ยร้อยละ 53.99 และอัตราส่วนที่สามารถบ่งชี้ถึงปัญหาทางการเงิน ได้แก่ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนกำไรสะสมต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีต่อสินทรัพย์รวม
และอัตราส่วนมูลค่าตลาดของส่วนผู้ถือหุ้นต่อมูลค่าตามบัญชีของหนี้สินรวม ผลวิจัยนี้นำไปสู่ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรประเมิน และควบคุมรักษาระดับอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมตามมาตรฐานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2565ก). จำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทุกประเภท. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566. จาก https://www.cad.go.th/download/cad_recordinfo2022/dec_ 2022.htm.

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2565ข). รายงานผลการดำเนินงานและฐานะการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์. กรุงเทพฯ: กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2565). จำนวนสหกรณ์ทั้งหมดในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2566. จาก https://www.itc.office.cpd.go.th.

กิตติชัย ถาวรธรรมฤทธิ์. (2552). การใช้ตัวแบบ Altman’s Z-score เพื่อพยากรณ์การล้มละลายกลุ่มธุรกิจวัสดุก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสยามวิชาการ, 10(2), 20-30.

จตุราพร สีหาบุตร และนารา กิตติเมธีกุล. (2557). ความแข็งแกร่งทางการเงินของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทยจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 7(3), 146-158.

ไทยรัฐ. (2561). ศาลแพ่งให้ชดใช้ 9 พันกว่าล้านบาท ยูเนี่ยนคลองจั่น. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2566. จาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1193348

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559). บทบาทสหกรณ์ออมทรัพย์ต่อเสถียรภาพระบบการเงิน. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2566. จาก https://www.bot.or.th.

นฤมล ใจแสน. (2559). การพยากรณ์ความล้มเหลวทางการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม.เอ.ไอ. การศึกษาด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปานรดา พิลาศรี และมนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2554). แบบจำลองการพยากรณ์ภาวะความล้มเหลวทางการเงินวิธีวิเคราะห์จำแนกประเภท. วารสารวิชาชีพบัญชี. 7(18), 26-42.

พิเชษฐ์ วิริยะพาหะ. (2563). เปิดบทสรุปหากการบินไทยล้มละลาย จะส่งผลกระทบกับสหกรณ์ฯ ผู้ถือหุ้นอย่างไรบ้าง. Workpoint Today (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2566. จาก https://workpointtoday.com/thai-airways-and-co-op.

วิยะดา วรานนท์วนิช. (2555). การพยากรณ์ความล้มเหลวทางการเงินด้วยแบบจำลองของ Altman (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุเทพ.

ศรสวรรค์ บัวนาค. (2559). การพยากรณ์ความล้มเหลวทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภัทรา วงศ์สืบชาติ. (2544). การพยากรณ์ความเป็นไปได้ของบริษัทธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

อภิญญา อดทน. (2554). การเปรียบเทียบความสามารถของแบบจำลองเพื่อทำนายภาวะล้มเหลวทางการเงินแบบ Alman’s Z-Score Model และ Zmijewski Model ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์.วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอกสิทธิ์ เข้มงวด. (2554). การศึกษาความแม่นยำและพัฒนาตัวแบบ Altman’s EM-Score Model สำหรับการพยากรณ์ความล้มเหลวทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาโท, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Al-Sulaiti, K. I., & Almwajeh, O. (2007). Applying Altman Z-score model of bankruptcy on service organizations and its implications on marketing concepts and strategies. Journal of International Marketing & Marketing Research, 32(2), 59 -74.

Altman, E. I. (1968). Financial ratio, discriminant analysis and the prediction of corporate bankruptcy. Journal of Finance, 4(13), 589-609.

Altman, E. I. (1983). Corporate financial distress: A complete guide to predicting avoiding and dealing with bankruptcy. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2023