การศึกษาผลของการพัฒนาสื่อโดยใช้เทคโนโลยีการเปลี่ยนเสียงเป็นภาพต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ศรินญา นิยมวงศ์ -

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีการเปลี่ยนเสียงเป็นภาพ, ผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาสื่อ โดยใช้เทคโนโลยีการเปลี่ยนเสียงเป็นภาพต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินประเภทหูหนวก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 50 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีการเปลี่ยนเสียงเป็นภาพ จำนวน 1 ชุด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.98 และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้พิการทางการได้ยิน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.90 สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อพรรณนาข้อมูลพื้นฐาน คือ เพศ อายุ และระดับการศึกษา สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired sample t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนและหลังทำการทดลอง และ Wilcoxon Rank-Sum test ทดสอบการกระจายของข้อมูลด้วยสถิติ Shapiro wilk test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

          ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 27 คน (ร้อยละ 54) และเพศหญิง จำนวน 23 คน (ร้อยละ 46) อายุเฉลี่ย 14.2 ปี ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 18 คน (ร้อยละ 36) รองลงมาคือกำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 17 คน (ร้อยละ 34) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างในช่วงก่อนและหลังการทดลอง พบว่า ทั้งด้านการจดจำ การทำความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ การประเมิน และด้านการสร้างสรรค์ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลังการทดลอง โดยใช้สื่อเทคโนโลยีการเปลี่ยนเสียงเป็นภาพ แตกต่างจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2556). พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน พิการแห่งชาติ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.

กัลยภัฏร์ ศรีไพโรจน์. (2563). การเปิดรับสื่อ การรับรู้ ความรู้ และพฤติกรรมด้านการป้องกันในสถานการณ์การระบาดใหญ่ทั่วโลกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น: กรณีโควิด 19. นวัตกรรมรูปแบบรายการโทรทัศน์และการมีส่วนร่วมของคนหูหนวก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์, 5(1), 1-20.

น้ำเพชร เทศะบำรุง. (2565). แนวทางการวิจัยและพัฒนาสู่นวัตกรรมทางการศึกษาพิเศษ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3), 334-344.

พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์. (2540). “การจัดบริการการศึกษาของบคคลปัญญาอ่อน: การเรียนร่วมระหว่าง เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญากับเด็กปกติ”. เอกสารการประกอบการอบรมหลักสูตรระยะ สันความรู ้เรื่องภาวะปัญญาออน. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลราชานุกูล.

ประภัสสรา พงศ์พันธุ์พิศาล, มนทยา สุนันทิวัฒน์, สมหญิง พุ่มทอง และลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช. (2565). ผลกระทบด้านสุขภาพจาก สถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ต่อผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 16(2), 169-182.

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2552). คนพิการกับสิทธิตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร.

สํานักนายกรัฐมนตรี. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ:

อักษร สวัสดี. (2542). ความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย: กรณีศึกษาในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Aljedaani, W., Krasniqi, R., Aljedaani, S., Mkaouer, M. W., Ludi, S. & Al-Raddah, K. (2022). If online learning works for you, what about deaf students? Emerging challenges of online learning for deaf and hearing-impaired students during COVID-19: A literature review. Universal Access in the Information Society, 22(4), 1027–1046.

Alshawabkeh, A. A., Woolsey, M. L. & Kharbat, F. F. (2021). Using online information technology for deaf students during covid-19: A closer look from experience. Heliyon, 7(5), e06915.

Ashraf, S., Basri, S. R. & Fatima, I. (2023). Technology Used by Hearing-Impaired Adolescents for Social Inclusion: A Cross-sectional Study. Journal of Business and Social Review in Emerging Economies, 9(3),137-148.

Khasawneh, M. A. S. (2023). The use of video as media in distance learning for deaf students. Contemporary Educational Technology, 15(2), ep418.

Kilpatrick, J. R., Ehrlich, S. & Bartlett, M. (2021). Learning from covid-19: Universal design for learning implementation prior to and during a pandemic. J. Appl. Instruct. Des, 10(1), 1-17.

Utami, I. S., Budi, S. & Nurhastuti, N. (2020). A need analysis of blended learning model for deaf students in higher education. Edumatic: Journal Pendidikan Informatika [Edumatic: Journal of Informatics Education], 4(2), 112-119.

Yang, Y., Xiao, Y., Liu, Y., Li, Q., Shan, C., Chang, S. & Jen, P.H.-S. (2021). Mental health and psychological impact on students with or without hearing loss during the recurrence of the covid-19 pandemic in china. Int. J. Environ. Res. Public Health, 18(4), 1421.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024