ปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการเคมีพื้นฐานของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • นัฐพล ฝันนิมิตร -
  • รวีพรรณ แนบสนิทธรรม

คำสำคัญ:

ห้องปฏิบัติการเคมี, อุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ, ปัจจัยความเสี่ยง

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการเคมีพื้นฐานของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับของโอกาสการเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการเคมีพื้นฐานของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยมีประชากรเป็นนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 และ 2 ที่เรียนวิชาปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน (วท.173) ทั้งหมด 89 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลของแบบสอบถามโดยใช้ค่าเฉลี่ย (µ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบ Enter

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาพรวมระดับความคิดเห็นของปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการอยู่ในระดับมาก 2) การศึกษาระดับโอกาสของการเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการอยู่ในระดับปานกลาง 3) ผลการศึกษาปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการเคมีพื้นฐานของนักศึกษา พบว่า ด้านระบบการจัดการสารเคมีและด้านลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการอุปกรณ์และเครื่องมือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการเคมีพื้นฐานของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จันทร์ฉาย ไกรสินธุ์. (2565). การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการ. วารสารเทคนิคการแพทย์. 50(2). 8158-8173.

ปริศนา พันธ์งาม. (2563). การจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPReL กรณีศึกษา ห้องปฏิบัติการไมโครเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี [วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรินทร์ ปะนันโต พรเพ็ญ กำนารายณ์ และพลวัฒน์ ติ่งเพ็ชร. (2564).ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ของนักศึกษากลุ่มสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 8(2).173-186.

วาทิศ วารายานนท์. (2566). การประเมินสภาพความปลอดภัยและแนวปฏิบัติที่ดีทางการแพทย์ด้วย ESPReL Checklist และBLS Checklist. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 10(1). 1-15.

วาสนา วิไลนุวัฒน์, ชัยสิทธิ์ ชิดหนองคู และวิชยุตม์ ศุภพงศ์พิเชฐ. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมีของนักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น. 4(1). 26-38.

ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2561). 7 องค์ประกอบของการบริหารจัดการความปลอดภัย. https://www.shecu.chula.ac.th/home/ content.asp?Cnt=28

อรวรรณ ชำนาญพุดซา, ชลดา พละราช และชัยวัฒน์ เผดิมรอด. (2567). ประเมินความเสี่ยงด้านระบบการจัดการสารเคมี กรณีศึกษาห้องปฏิบัติการทางเคมีของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 17(1). 60-71.

Best, J.W. (1993). Research in Education. Boston, M.A.: Allyn and Bacon.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis.7th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw - Hill.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York : McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2024