ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณภาพการบริการและความพึงพอใจในการใช้บริการรถรับ-ส่งนักศึกษาระหว่างวิทยาเขตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คำสำคัญ:
แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง, การประเมินคุณภาพการให้บริการ, การให้บริการรถโดยสารมหาวิทยาลัย, มาตรวัดคุณภาพ SERVQUAL, ความพึงพอใจของผู้บริโภคบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยเชิงสาเหตุ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณภาพการบริการและความพึงพอใจในการใช้บริการรถรับ-ส่งระหว่างวิทยาเขต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่โดยใช้แบบจำลองโครงสร้างจากมาตรวัดคุณภาพการบริการ (SERVQUAL) มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยสำรวจข้อมูลแบบสอบถามด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจากตัวอย่างนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ที่เดินทางระหว่างวิทยาเขต จำนวน 400 คน
ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับที่น่าพึงพอใจ โดยมีค่าสถิติในการตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลอง ดังนี้ /df=2.089, GFI=.902, AGFI=.871, CFI=.959, NFI=0.925, TLI=0.950, RMSEA=0.052 และ SRMR = 0.025 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณภาพการบริการและความพึงพอใจในการใช้บริการรถรับ-ส่งสามารถจำแนกออกเป็น 5 กลุ่ม ปัจจัยตามมาตรวัดคุณภาพการให้บริการ SERVQUAL ได้แก่ การประกันคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ ลักษณะที่จับต้องได้ ความเข้าอกเข้าใจ การตอบสนอง ซึ่งส่งผลต่อทางตรงต่อคุณภาพการบริการ และทางอ้อมต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของรถรับ-ส่งนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2566). สารสนเทศเพื่อการบริหาร. http://www.plan.mru.ac.th/dataset/
ณัฐพล อรุณสวัสดิ์. (2567). การวิเคราะห์รูปแบบการเดินทางและราคาที่เหมาะสมสำหรับโครงการรถตู้ร่วมมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/79564
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2019). Multivariate Data Analysis. Cengage. https://books.google.co.th/books?id=0R9ZswEACAAJ
Hussin, N. Z. M. H. M., Anuar, A., Mansor, M. N. M., & Besir, M. S. M. (2024). Determinants of Student’s Satisfaction Towards Bus Service Quality in UiTM Cawangan Selangor. https://www.researchgate.net/publication/385303274
Koc, K., & Kaya, H. A. (2021). Determination of transportation service quality factors for university campuses: Evidence from bus service quality in Yildiz Technical University. Sigma Journal of Engineering and Natural Sciences, 39(3), 213-225. https://doi.org/10.14744/sigma.2021.00011
Sam, E. F., Hamidu, O., & Daniels, S. (2018). SERVQUAL analysis of public bus transport services in Kumasi metropolis, Ghana: Core user perspectives. Case Studies on Transport Policy, 6(1), 25-31. https://doi.org/10.1016/J.CSTP.2017.12.004
Taran, A. M. (2022). Evaluating the level of the shuttle service quality at Al al-Bayt University campus using the SERVQUAL model. International Journal of Sustainable Development & Planning, 17(6), 1169-1179. https://doi.org/10.18280/ijsdp.170625
Victoria Transport Policy Institute. (2018). Ridesharing-car and vanpooling. In TDM Encyclopedia. Victoria, BC, Canada. http://vtpi.org/tdm/tdm34.htm
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง